การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
49 ความหมายของเสรีภาพในการทำสัญญา หลักเสรีภาพในการทำสัญญามีหลักว่า บุคคลมีเสรีภาพที่จะเลือกวิธีการจัดการสัญญาและวาง ข้อกำหนดได้อย่างอิสระและสมัครใจตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน เป็นเสรีภาพในความหมาย (วรงค์พร จิระภาค, 2556) ต่อไปนี้ 1. ไม่มีใครผูกพันเข้าทำสัญญา ถ้าเขาไม่เลือกที่จะทำสัญญานั้น 2. ในสังคมที่มีการแข่งขัน ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกบุคคลที่เขาจะเข้าทำสัญญาด้วย 3. บุคคลสามารถทำสัญญาประเภทใดก็ได้ โดยข้อความที่เขาเลือก บทบาทของรัฐที่มีต่อหลักเสรีภาพในการทำสัญญานั้นอยู่ในลักษณะเดียวกับหลักความศักดิ์สิทธิ์ แห่งเจตนา คือ รัฐจะไม่เข้ามาแทรกแซงต่อการเข้าทำสัญญาระหว่างเอกชน ในกรณีที่การทำสัญญา นั้นไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่กระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม ดังนั้นการที่รัฐจะเข้ามาจำกัดเสรีภาพในการทำสัญญานั้นควรจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมหรือ ความเสมอภาคของคู่สัญญา ความเสมอภาคของคู่สัญญาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทั้งหลักความ ศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนาและหลักเสรีภาพในการทำสัญญาบรรลุผลได้ตามวัตถุประสงค์ของหลักทั้งสอง แต่ ในทางข้อเท็จจริงนั้นความไม่เสมอภาคระหว่างคู่สัญญาเกิดขึ้นอยู่เสมอ เมื่อรัฐจะต้องเข้ามาจำกัด เสรีภาพของเอกชนในการทำสัญญาเพื่อไม่ให้ปัจเจกบุคคลหรือเอกชนใช้เสรีภาพของตนเกินไป ก่อให้เกิดการรบกวน กระทบกระเทือน หรือเกิดความเสียหายแก่สังคมและประชาชนโดยรวม 2.10 ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี พ.ศ. (2560- 2579) (กรมชลประทาน, 2559) ข้อมูลด้านการชลประทานของประเทศไทย สภาพอุตุ – อุทกวิทยา ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับอิทธิพลจากมรสุม ลมพายุจร สามารถจำแนกฤดูกาลได้ 3 ฤดู โดยฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ฤดูหนาวเริ่ม ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม และฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิ ปริมาณฝนเฉลี่ยผันแปรตามฤดูกาลในแต่ละปีเนื่องจากอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมและ ลมพายุจร สภาพทางด้านอุทกวิทยามีความผันแปรสูง ส่งผลให้ประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงน้ำหลาก และปัญหาภัยแล้งในช่วงฤดูแล้งอยู่เสมอ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3