การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
50 การใช้ที่ดินภาคการเกษตร จากข้อมูลการใช้ที่ดินของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2556 สรุปได้ว่าเนื้อที่ประเทศไทย ทั้งหมด 320.70 ล้านไร่ เป็นเนื้อที่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจำนวน 149.24 ล้านไร่ หรือคิดเป็น ประมาณร้อยละ 46.53 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยจากพื้นที่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตรนี้ สามารถ จำแนกออกเป็นนาข้าว 69.97 ล้านไร่ (ร้อยละ 46.88 ของพื้นที่ทางการเกษตร) พืชไร่ 31.16 ล้านไร่ (ร้อยละ 20.88 ของพื้นที่ทางการเกษตร) สวนผลไม้ไม้ยืนต้น 34.92 ล้านไร่ (ร้อยละ 23.40 ของพื้นที่ ทางการเกษตร) สวนผัก ไม้ดอก/ไม้ประดับ 1.4 ล้านไร่ (ร้อยละ 0.09 ของพื้นที่ทางการเกษตร) และ เนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่น ๆ 11.80 ล้านไร่ (ร้อยละ 7.90 ของพื้นที่ทางการเกษตร) ความต้องการน้ำ ความต้องการใช้น้ำรวมของทั้งประเทศ ในปี พ.ศ. 2560 อยู่ที่ประมาณปีละ 151 ,750 ล้าน ลูกบาศก์เมตร เป็นความต้องการน้ำเพื่อการเกษตร สูงถึง 133,960 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 75 ของความต้องการน้ำทั้งหมด ในจำนวนนี้อยู่ในเขตที่มีแหล่งกักเก็บน้ำและระบบชลประทานอยู่ แล้ว 65,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนที่เหลืออีก 48,960 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นความต้องการน้ำเพื่อ การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก (คัดเฉพาะการปลูกฤดูฝนเท่านั้น) รอง ลงไปเป็นการใช้น้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศประมาณ 27,090 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 18 ของ ความต้องการน้ำทั้งหมด) เพื่อการอุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยวประมาณ 6 ,490 ล้านลูกบาศก์ เมตร (ร้อยละ 4 ของความต้องการน้ำทั้งหมด) และการอุตสาหกรรม 4,206 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อย ละ 3 ของความต้องการน้ำทั้งหมด) (จากรายงานแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เดือนพฤษภาคม 2558) (กรมทรัพยากรน้ำ, 2563) นอกจากนี้ จากความต้องการใช้น้ำรวมของประเทศที่มีอยู่ประมาณ 151,750 ล้านลูกบาศก์ เมตรนั้นสามารถแบ่งออกเป็นความต้องการที่สามารถจัดการได้ทั้งสิ้นประมาณ 102 ,140 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกิดจากปริมาณน้ำที่สามารถเข้าถึงตามแหล่งน้ำในรูปแบบต่าง ๆ ได้ อาทิ แหล่งเก็บ กักน้ำ อาคารพัฒนาแหล่งน้ำ แหล่งน้ำ ลำน้ำธรรมชาติ และน้ำบาดาล เป็นต้น ในขณะที่อีกกว่า ประมาณ 49,610 ล้านลูกบาศก์เมตรนั้นเป็นความต้องการน้ำที่ยังไม่สามารถจัดการได้ ซึ่งประกอบไป ด้วยการจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทาน และความต้องการน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค บางส่วน การพัฒนาชลประทาน การพัฒนาชลประทานในอดีตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มุ่งเน้นการกระจายน้ำโดยการขุดคลอง เชื่อมโยงน้ำระหว่างแม่น้ำสายหลักในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ ต่อมาในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ได้มีการพัฒนาอาคารทดน้ำตามแม่น้ำสายหลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผันน้ำเข้าสู่ ระบบคลองในบริเวณที่ราบลุ่มภาคเหนือตอนบนและภาคกลาง ทำให้การเกษตรชลประทานได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3