การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
51 ขยายตัวมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการเกษตรชลประทานในยุคนั้นยังคงมีข้อจำกัด เนื่องจากยังไม่มีการ พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ที่จะรองรับปริมาณน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ทำให้ยังคงประสบ ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งตามฤดูกาล ภายหลังที่ได้มีการก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ทำให้ปัญหาอุทกภัยบรรเทาลงมากโดยช่วยลดระดับน้ำสูงสุดของแม่น้ำ เจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ได้เฉลี่ย 1.44 เมตร และมีปริมาณน้ำสำรองในอ่างเก็บน้ำสำหรับ จัดสรรเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ทำให้สามารถขยายพื้นที่เกษตรชลประทานและการเพาะปลูกในฤดู แล้งได้อย่างรวดเร็ว ในระยะต่อมาได้มีการกระจายการพัฒนาแหล่งน้ำและการเกษตรชลประทาน ขนาดใหญ่และขนาดกลางออกไปทั่วประเทศ ส่งผลให้เศษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในระดับท้องถิ่น โดยการก่อสร้างแหล่ง น้ำขนาดเล็กกระจายตามพื้นที่ชุมชนในชนบท ข้อมูล ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น 149.24 ล้านไร่ ซึ่งจากพื้นที่การเกษตรเหล่านี้มีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานทั้งหมดใน ประเทศไทยทั้งสิ้น 60.29 ล้านไร่ โดยในปัจจุบันกรมชลประทานได้มีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานไป แล้วทั้งสิ้น 31.83 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 52.79 ของพื้นที่ที่มีศักยภาพทั้งหมด แบ่งออกเป็นพื้นที่ ชลประทานจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่จำนวน 17.97 ล้านไร่ พื้นที่ชลประทานจากโครงการ ชลประทานขนาดกลาง (กรมชลประทานดูแล) จำนวน 6.69 ล้านไร่ และพื้นที่ชลประทานจาก โครงการชลประทานขนาดเล็กจำนวน 7.18 ล้านไร่ ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) 1) วิสัยทัศน์ องค์กรอัจฉริยะ ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการภายในปี 2579 2) พันธกิจ 1. พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เกิดความสมดุล 2. บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้เพียงพอ ทั่วถึง และเป็นธรรม 3. ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำตามภารกิจอย่างเหมาะสม 4. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนพัฒนาแหล่งน้ำ และการบริการจัดการน้ำ 3) ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลักษณะลุ่มน้ำ (Basin-based Approach) 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารน้ำอย่างบูรณาการ ตามวัตถุประสงค์การใช้น้ำ 3. การป้องกันความเสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ 4. การสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วม (Networking and Participation) ของทุกภาคส่วน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3