การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
54 2.11 กฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย เนื่องจากสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดวิถีชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรัฐผู้ปกครอง ดังนั้น การจำกัดสิทธิและเสรีภาพย่อมต้องมีที่มาจากประชาชน ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันว่า ในรัฐยุคใหม่นั้น การใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงของ ประชาชนจำต้องกระทำผ่าน “ตัวแทนผู้ใช้อำนาจ” ซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชนผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ดังนั้น การจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนจึงต้องเป็นไปโดยผลของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรที่ เป็นตัวแทนของประชาชนคือ รัฐสภา กฎหมายถือเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการใช้อำนาจรัฐของ องค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐ เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นข้อตกลงและกติกาในการใช้สิทธิต่อกันใน ฐานะเอกชน กฎหมายอาญาเป็นข้อตกลงร่วมกันของประชาชนเพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดต่อกันทาง กายภาพ ต่อทรัพย์สินและเสรีภาพ และกฎหมายมหาชนเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชนว่า รัฐสามารถใช้อำนาจรัฐอันเป็นของประชาชนได้ในขอบเขตใดและประชาชนจะต้องถูกจำกัดสิทธิและ เสรีภาพอย่างไรบ้าง (สมคิด เลิศไพฑูรย์ และกล้า สมุทวณิช, 2546) 2.11.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญเป็นทั้งเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ดังนั้น กฎหมายต่าง ๆ จะต้องเป็นไปตามหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เมื่อกฎหมายลำดับรองเกิดจากการใช้อำนาจของรัฐธรรมนูญ เนื้อหาของกฎหมายจะต้อง สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ จะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทซึ่งให้อำนาจในการตรา กฎหมายขึ้นมิได้ รวมทั้งกระบวนการตรากฎหมายจะต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด รัฐธรรมนูญของรัฐเสรีประชาธิปไตยบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนไว้ 2 ลักษณะ (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2538) คือบัญญัติรับรองไว้อย่างสัมบูรณ์ กล่าวคือ โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัด ใด ๆ และบัญญัติรับรองไว้อย่างสัมพัทธ์ กล่าวคือ รัฐสงวนไว้ซึ่งอำนาจในอันที่จะจำกัดการใช้สิทธิหรือ เสรีภาพนั้น ๆ ภายหลังได้ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นกรณี ของสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้จำกัดได้โดยผลของกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 37 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัย อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ หรือ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3