การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
56 ทรัพย์สิน รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะสามารถกระทำได้แต่โดยการอาศัย อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 บัญญัติว่า เมื่อรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งที่ดินเพื่อการอันจำเป็นในกิจการสาธารณูปโภค การ ป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น เมื่อมิได้ตกลง ในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้เวนคืนตามหมวดนี้ ประโยชน์สาธารณะตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการผังเมือง การส่งเสริมและการรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตร การปฏิรูปที่ดิน การจัดรูปที่ดิน การอนุรักษ์โบราณสถาน และแหล่งทางประวัติศาสตร์ การอุตสาหกรรม และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะมีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลก็ต่อเมื่อมี การตราพระราชบัญญัติเวนคืนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ซึ่งตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดว่า “การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้น แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย...” ดังนั้น ตามระบบกฎหมายไทยจึงกำหนดให้ฝ่าย นิติบัญญัติเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการบังคับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนมาเป็น ของรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตราพระราชบัญญัติเวนคืนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งมีผลเป็นการ จำกัดสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ดังนั้นการตราพระราชบัญญัติเวนคืนฯ ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตาม เงื่อนไขของกฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่กำหนดไว้ในมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่บัญญัติว่า การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการ จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัด สิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มิได้ รวมทั้ง ต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย โดยองค์กรนิติบัญญัติต้องดำเนินการ ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขต่าง ๆ ตามมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ดังต่อไปนี้ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 2543) 1. ความพอสมควรแก่เหตุ เป็นหลักที่มีขึ้นเพื่อจำกัดการใช้อำนาจของรัฐไม่ให้เป็นไปโดย อำเภอใจ ซึ่งมีหลักการย่อยดังต่อไปนี้ 1.1 มาตรการองค์กรนิติบัญญัติตราขึ้นเป็นกฎหมายจะต้อง “เหมาะสม” ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ ที่ต้องการหลักความเหมาะสมนี้เรียกร้องความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการที่รัฐใช้จำกัดหรือลิดรอนสิทธิ ของประชาชนกับผลที่จะได้รับจากการใช้มาตรการนั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3