การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

67 วิธีที่สี่ เป็นการเวนคืนโดยอาศัยกระบวนการออกคำสั่ง “Compulsory Purchase Order”โดย เห็นกันว่าการที่ต้องให้รัฐสภายืนยันรับรองคำสั่ง Provisional Order ทำให้เกิดความล่าช้าทั้งยังมีข้อ ยุ่งยากและเป็นภาระแก่รัฐสภา รัฐสภาในยุคต่อมาที่ตรากฎหมายพิเศษให้อำนาจรัฐในการเวนคืนจึง กำหนดรูปแบบของคำสั่งเวนคืนขึ้นอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า “Compulsory Purchas Order” ซึ่งก็ จะมีขั้นตอนของการออกคำสั่งคล้ายคลึงกับกรณีของคำสั่ง “Provisional Order” เพียงแต่มีความ แตกต่างกันในตัวองค์กรผู้ยืนยันคำสั่งโดยเปลี่ยนจากรัฐสภามาเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง กฎหมายเวนคืนของสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือที่อยู่ในรูปแบบของกฎหมายลายลักษณ์ อักษร ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายฉบับ (ศุภเชษฐ์ คูสุวรรณ, 2539) ที่ได้แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมจาก Land Clauses Act 1845 ได้แก่ The Compulsory Purchase Act 1965 คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการ รับคำสั่งซื้อที่ดินเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการเวนคืนที่ดิน โดยคำสั่งดังกล่าวจะกำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน (Compulsory Purchase Order หรือ เรียกย่อๆ ว่า CPO) ซึ่งจะมีแผนที่ ที่ดินที่จะต้องเวนคืนแนบไว้ด้วย แล้วนำสำเนาคำสั่งและแผนที่ไปปิดประกาศ ณ สถานที่ที่กำหนด เช่นที่ทำการผู้มีอำนาจเวนคืน บริเวณท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ และต้องจัดพิมพ์คำสั่งในหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่นด้วย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าตรวจสอบ Purchase (Vesting Declarations) Act 1981 ที่ใช้ บังคับในขั้นตอนการจัดให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน สำหรับกฎหมาย The Land Compensation Act 1961 และ The Land Compensation Act 1973 คือพระราชบัญญัติว่าด้วยค่าตอบแทนที่ดิน เป็นกฎหมายที่จะใช้บังคับกับกระบวนการกำหนดค่าทดแทนที่ดินในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คงใช้ บังคับในเรื่องการกำหนดค่าทดแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความเสียหายที่จะได้รับการ เยียวยาจากรัฐ ซึ่งศาลได้วางหลักเกณฑ์โดยการตีความกฎหมายฉบับดังกล่าวว่า ค่าทดแทนที่พึง กำหนดให้เอกชนได้แก่ ค่าทดแทนความเสียหายในกรณีต่างๆ ความเสียหายจากการที่ต้องสูญเสีย ที่ดิน กระบวนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ กระบวนการเวนคืนของสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือเป็นการดำเนินการโดยรัฐ การไต่ สวนสาธารณะโดยรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาข้อโต้แย้งต่างๆ ตามพระราชบัญญัติ Acquisition of Land Act 1981 ตามบทบัญญัติทั่วไป หรือตามบทบัญญัติในกฎหมายเฉพาะที่ให้อำนาจออกกฎหมายเพื่อ การเวนคืนที่ดินของประชาชน ซึ่งการเวนคืนนั้นมีทั้งประชาชนให้ความยินยอมและไม่ให้ความยินยอม ทั้ง 2 กรณีจะมีขั้นตอนทางการกฎหมายมาใช้ดำเนินการเพื่อให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกเวนคืนตกเป็น ของรัฐแตกต่างกัน แต่ทั้งกรณีประชาชนให้ความยินยอมและไม่ให้ความยินยอมในการเวนคืน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3