การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

68 หน่วยงานซึ่งใช้อำนาจออกกฎหมายเพื่อการเวนคืนจะต้องกำหนดค่าทดแทนให้กับประชาชนที่ถูก เวนคืนเช่นเดียวกัน (แคล้ว ทองสม, 2543) โดยมีขั้นตอนแตกต่างกันไป ขั้นตอนที่ 1 หน่วยงานที่จะทำการเวนคืนจะต้องตรวจสอบก่อนว่ามีกฎหมายให้อำนาจในการ เวนคืนแก่หน่วยงานของตนเพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นการเฉพาะหรือไม่ และเมื่อปรากฏว่ามีการรับรอง อำนาจในการเวนคืนที่ดินตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้วก็จะต้องพิจารณาต่อไปว่ากฎหมายนั้น หรือ กฎหมายอื่นใดให้อำนาจในการเวนคืนโดยการบังคับไว้หรือไม่ ถ้าหากมีกฎหมายให้อำนาจไว้เช่นนั้น แล้ว การคัดเลือกที่ดินที่จะใช้ในการเวนคืนจะสามารถทำได้โดยการออกประกาศแจ้งการเวนคืน Compulsory Purchase Order หรือเรียกย่อๆ ว่า “CPO” ในกรณีที่ปรากฏว่ามีกฎหมายให้อำนาจ ออก CPO ซึ่งต้องพิจารณาต่อไปว่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ Acquisition of Land Act 1981 ด้วยหรือไม่ นอกจากนั้นจะต้องพิจารณาว่ามีขั้นตอนโดยเฉพาะ อย่างอื่นซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอื่น ๆ ด้วยหรือไม่เช่นกัน ขั้นตอนที่ 2 เป็นเรื่องการคัดเลือกหรือบ่งชี้ที่ดินแปลงที่จะเวนคืน ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้อง ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน Acquisition of Land Act 1981 เว้นแต่เป็นกรณีที่มีกฎหมาย อื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กล่าวคือ ในขั้นตอนที่ 2 นี้เป็นกระบวนการออก CPO ขั้นตอนที่ 3 คือขั้นตอนการให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เป็นขั้นตอนที่แยกต่างหากอีกขั้นตอน หนึ่งจากขั้นตอนที่ 2 ซึ่งว่าด้วยการกำหนดตัวที่ดินและส่วนได้เสีย รวมถึงตัวผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินซึ่ง จะต้องถูกเวนคืนนั้น ในขณะที่ขั้นตอนที่ 3 นี้เป็นกระบวนการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเปรียบเสมือน กับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในทะเบียนที่ดินตามกฎหมายไทย ตามกระบวนการเวนคืนที่ดิน ของกฎหมายสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ กรรมสิทธิ์อาจได้มาโดยการตกลงกันในเรื่องค่า ทดแทนเพื่อการเวนคืน หรือหากยังตกลงกันไม่ได้แต่ยังอยู่ในระหว่างรอการชี้ขาดจากคณะกรรมการ กำหนดค่าทดแทนเพื่อการเวนคืนที่ดิน หน่วยงานที่ใช้อำนาจเวนคืนที่ดินอาจจะใช้อำนาจออกหนังสือ บอกกล่าวซึ่งเรียกว่า Notice of Entry กำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนแล้วจึงทำ Deed หรือ Deed Poll เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ หรืออาจจะเลือกกระบวนการออกหนังสือบังคับโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งเรียกว่า General Vesting Declarations ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนการกำหนดค่าทดแทน เมื่อองค์กรผู้ใช้อำนาจเวนคืนตัดสินใจที่จะใช้ อำนาจเวนคืนที่ดินแปลงใดก็จะแจ้งความบังคับซื้อ (Notice to Treat) ไปยังเจ้าของและผู้มีส่วนได้ เสียในที่ดินเพื่อแสดงความประสงค์ขอซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวด้วยวิธีเจรจาตกลงกัน และให้เจ้าของ ที่ดินหรือผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องเสนอราคาค่าทดแทนเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการกำหนดค่า ทดแทนตามกฎหมาย หากคู่กรณีสามารถเจรจาตกลงกันได้สำเร็จจะมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3