การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

77 ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อทรัพย์สินใหม่และค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับผู้เรียกร้อง ซึ่งเป็นผลจากการ โยกย้ายออกจากที่อยู่อาศัยเดิมไปยังที่อยู่อาศัยใหม่ (Relocetion) และบางกรณีจะมีการหักลบเงิน จากจำนวนที่กำหนดไว้หากผู้เรียกร้องได้ปรับปรุงหรือมีแนวโน้มจะปรับปรุงที่อยู่ใหม่เจ้าของจะต้อง เสียค่าใช้จ่ายเอง เครือรัฐออสเตรเลียได้มีการทบทวนกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (สงขลา วิชัยขัท คะ และคณะ, 2544) และได้นำข้อเสนอจากผลการศึกษาไปบัญญัติไว้ในกฎหมายเวนคืนที่ดิน ปี ค.ศ. 1989 เนื่องจากพบว่าประชาชนที่ได้รับผลกระทบการการเวนคืนนอกจากได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่ เหมาะสมแล้วยังขาดโอกาสในการตรวจสอบโครงการเวนคืนด้วย ในกรณีของการยื่นข้อเรียกร้อง ขอรับเงินค่าทดแทนก็มีปัญหามากเช่นเดียวกัน ไม่เพียงแต่จะมีค่าใช้จ่ายสูงเท่านั้นแต่ยัง ใช้ระยะ เวลานาน เจ้าของที่ดินมักขาดข้อมูลข่าวสารในการตัดสินใจทำความตกลงกับหน่วยงานของรัฐ และไม่ มีความสามารถในการอพยพโยกย้ายไปพักอาศัยยังที่อยู่แห่งใหม่ด้วย โดยมีการเสนอแนะไว้ว่าบุคคลที่ มีผลประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ภายใต้การเวนคืนของรัฐจะต้องได้รับโอกาสในการยื่นเรื่อง ร้องเรียนให้มีการทบทวนโครงการเวนคืนได้ กระบวนการจ่ายเงินค่าทดแทน ให้เจ้าของ อสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าตกลงไปจากเดิมอันเนื่องมาจากผลกระทบอันเกิดจากกิจกรรมของรัฐ โดยเฉพาะได้มีข้อเสนอในการกำหนดค่าทดแทนที่จะต้องพิจารณาถึง มูลค่าตลาดของที่ดิน มูลค่า พิเศษของที่ดิน มูลค่าตลาดที่ลดลงของที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งถือว่าเป็นความเสียหายที่ เกิดขึ้นจากการที่ที่ดินถูกเวนคืนบางส่วน ค่าความเสียหายอันเกิดจากผลกระทบโดยตรงจากการถูก เวนคืนและความเสียหายอื่น และเสนอให้พิจารณาความช่วยเหลือแก่เจ้าของที่ดินในรูปของเงินกู้สร้าง บ้าน เงินค่าทดแทนพิเศษที่มีให้แก่ความเสียหายที่ไม่สามารถมองเห็น เช่น การสูญเสียความ สะดวกสบาย เป็นต้น ค่าทดแทนตามกฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย กฎหมายเวนคืนที่ดิน ปี ค.ศ.1989 Land expropriation law, 1989 ได้กำหนดให้รัฐกำหนดค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และค่า เสียหายอื่น ๆ เป็นจำนวนเงิน 2.13 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คทาวุฒิ เรียนรอบกิจ, (2555) ศึกษาเรื่องค่าทดแทนในกรณีการเวนคืนทรัพย์สินของเอกชนมา เป็นของรัฐภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึง หลักการ วิธีการใช้บังคับ ประเด็นปัญหา ที่เกี่ยวข้อง กับค่าทดแทนในกรณีการเวนคืนทรัพย์สินของเอกชนเป็นของรัฐภายใต้หลักกฎหมายระหว่างประเทศ ทั่วไป (General Principles of International Law) สนธิสัญญาทวิภาคีเพื่อการส่งเสริมและ คุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศอาเซียน (Bilateral Investment Treaties หรือ BITs) และความ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3