การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
78 ตกลงพหุภาคีว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement หรือ ACIA) 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงแนวคิดของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ในส่วนเฉพาะที่เกี่ยวกับการเวนคืนทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐ 3) เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับค่าทดแทนในกรณีการเวนคืน ทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐ จากการศึกษาพบว่าแม้เงื่อนไขของการโอนหรือเวนคืนกิจการและ ทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐทั้ง BITs และ ACIA จะมีความเหมือนกันตามที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น เมื่อได้พิจารณาข้อดีและข้อเสียครบถ้วนแล้ว เห็นว่า ACIA ยังคงมีความโดดเด่นมากกว่าในเรื่องของ การให้ความคุ้มครองการลงทุนดังกล่าวและที่สำคัญถือว่าเป็นการให้ความตกลงร่วมกันของชาติ สมาชิกอาเซียนเพื่อให้มีผลใช้บังคับ เป็นต้น นอกจากนี้หากมีปัญหาความตกลงระหว่างประเทศ กรณี การเลือกใช้สิทธิใดสิทธิหนึ่ง (ซ้ำซ้อนกัน) ในความตกลงสองความตกลงที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความ ตกลงกฎหมายทั่วไปและความตกลงเฉพาะ โดยหลักการแล้วควรพิจารณาดังนี้ 1) ดูว่าความตกลง เฉพาะนั้น ไม่ว่าจะเป็นความตกลงระดับพหุภาคีหรือทวิภาคีมีบทว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างความ ตกลงทั่วไปและความตกลงอื่นระบุไว้หรือไม่ ถ้ามีก็พิจารณาไปตามหลักการที่ระบุไว้เช่นนั้น 2) ถ้าไม่ มีบทว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างความตกลงทั่วไปและความตกลงเฉพาะเห็นควรพิจารณาตาม กฎหมายพิเศษ ย่อมมีผลเหนือกว่ากฎหมายทั่วไป “Iex specialis derogat legi generali” ในขณะที่ ปราโมทย์ สุวรรณแก้ว, (2559) ศึกษาเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับราคาลดลง ของที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาในการกำหนดค่า ทดแทนให้กับที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนของผู้มีอำนาจในการกำหนดค่าทดแทน 2) เพื่อศึกษา แนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในปัจจุบันของผู้มีอำนาจในการกำหนดค่าทดแทน หากมีกรณีที่ จะต้องกำหนดค่าทดแทนให้กับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน 3) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ทาง กฎหมายในปัจจุบันที่ใช้บังคับกับกรณีปัญหาการกำหนดค่าทดแทนให้กับที่ดินส่วนที่เหลือจากการ เวนคืน 4) เพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่เหมาะสม ในการนำวิธีการแก้ปัญหามาใช้กับสภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยวิธีการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายใน ต่างประเทศ 5) เพื่อสร้างหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืน อย่างเป็นธรรม ให้ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิการได้รับค่าทดแทน ความเสียหายจากการถูกเวนคืน จากการศึกษาพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ในการกำหนดค่าทดแทนให้กับที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูก เวนคืนเกิดจากเจ้าหน้าที่เวนคืนหรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนในการกำหนดค่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3