การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
79 ทดแทนให้กับผู้ถูกเวนคืนไม่ได้พิจารณาหลักกฎหมายในการกำหนดค่าทดแทนให้กับผู้ถูกเวนคืนโดย ยึดหลักกฎหมายอย่างครบถ้วน เป็นผลให้ไม่ได้กำหนดค่าทดแทนให้กับที่ดินส่วนที่เหลือจากการ เวนคืนอันราคาลดลง หรือที่ดินที่ถูกเวนคืนแล้วที่ดินส่วนที่เหลือราคาลดลง หรือที่ดินส่วนที่เหลือจาก การเวนคืนเสียประโยชน์จากการเวนคืน อันเป็นผลให้กระบวนการกำหนดค่าทดแทนในชั้น คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกเวนคืนผู้ถูกเวนคืนจึงต้องใช้สิทธิในการ อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการและฟ้องคดีต่อศาลปกครองเมื่อทราบปัญหาและความบกพร่องของ หลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ สำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน อันมีราคาลดลงซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนสำหรับ ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อเยียวยาผู้ถูกเวนคืนที่เดือดร้อน จากการเวนคืนแล้วที่ดินส่วนที่เหลือราคาลดลง หรือใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมไม่ได้ หรือใช้ ประโยชน์ได้จำกัดลง เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ดังเดิมหรือใกล้เคียงกับก่อนถูกเวนคืน และกลับคืนสู่สถานะเดิมได้มากที่สุดอันเป็นการชดเชยความเสียหาย ลดความเดือนร้อนเสียหายของผู้ ถูกเวนคืน และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ถูกเวนคืนเพื่อลดปัญหาการต่อต้านอำนาจรัฐ เพื่อให้ผู้มีอำนาจ หน้าที่ในการกำหนดค่าทดแทนทราบถึงเจตนารมณ์อันแท้จริงของบทบัญญัติกฎหมายในส่วนของการ กำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงและนำไปใช้เป็นหลักเกณฑ์ ในการกำหนดค่าทดแทนต่อไป ซึ่งมีความสอดคล้องกับการศึกษาของ อภิชิต ศรีสร้างคอม, (2564) ศึกษาเรื่องการคุ้มครองสิทธิ เจ้าของที่ดินจากการรอนสิทธิที่ดินในการสร้างเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าทดแทนการรอน สิทธิที่ดิน 2) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนการรอนสิทธิที่ดินและระยะเวลาการรอน สิทธิ 3) นำข้อเสนอแนะไปใช้ในการจ่ายเงินค่าทดแทน จากการศึกษาพบว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทยไม่ได้ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนเจ้าของที่ดินในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ประการที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยังไม่มีมาตรการเยียวยาประชาชนเจ้าของที่ดินโดยยังใช้แนว ปฏิบัติเดิมที่ใช้มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี จะเห็นได้จากประชาชนเจ้าของที่ดินที่ไม่พอใจในการ จ่ายเงินค่าทดแทนได้นำเรื่องไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองคดีแดงเลขที่ อ.224/2563 เนื่องจากผู้ฟ้องคดี เห็นว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่เป็นธรรม โดยศาลปกครองมีคำ พิพากษาให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มให้กับประชาชนเจ้าของที่ดิน จากผลของคำพิพากษาและคำวิพากษ์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกลับเพิกเฉยซึ่งตามความ เป็นจริง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยควรกำหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือประชาชนเจ้าของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3