การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
80 ที่ดินที่ได้รับผลกระทบ ควรแก้ไขเพิ่มเติมแนวปฏิบัติและหลักเกณฑ์การช่วยเหลือประชาชนเจ้าของ ที่ดินให้ได้รับความเป็นธรรม ทั้งในการจ่ายเงินค่าทดแทน โดยกำหนดการจ่ายเงินค่าทดแทนให้ชัดเจน ครอบคลุมความเสียหายของประชาชนเจ้าของที่ดิน และกำหนดเรื่องระยะเวลาการรอนสิทธิต้อง กำหนดให้ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนเจ้าของที่ดินได้รับความเป็นธรรม จากการศึกษาประเด็นแรก ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าทดแทนการรอนสิทธิที่กำหนดโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ข้อเท็จจริงพบว่า ได้นำหลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนในทำนอง เดียวกันกับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา กำหนดค่าทดแทน โดยใช้วิธีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเรื่องหลักเกณฑ์การ แต่งตั้ง และวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาราคาที่ดินและทรัพย์สิน พ.ศ. 2552 ให้มี คณะกรรมการในแต่ละจังหวัด ที่มีประกาศกำหนดเขตระบบโครงข่ายพลังงานตามมาตรา 106 พาด ผ่านคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการพิจารณาราคาที่ดินและทรัพย์สินจังหวัดประกอบด้วย 1. ผู้ว่า ราชการจังหวัด หรือผู้แทน เป็นประธานกรรมการ 2. หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้แทนในจังหวัดที่ เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด ธนารักษ์พื้นที่ เกษตรจังหวัด โยธาธิการ และผังเมืองจังหวัด นายอำเภอท้องที่และผู้แทนสภาจังหวัด เป็นกรรมการ 3. ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ ผู้เชี่ยวชาญที่คณะกรรมการแต่งตั้ง เป็นกรรมการ 4. ผู้แทนสำนักงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนตาม ประเภทของที่ดินเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันทั่วประเทศ ดังนี้ 1.ที่ตั้งเสาไฟฟ้าจ่ายให้ร้อยละ 100 ของ ราคาที่กำหนด 2.ที่บ้านจ่ายให้ร้อยละ 90 ของราคาที่กำหนด 3.ที่สวนจ่ายให้ร้อยละ 70 ของราคาที่ กำหนด 4.ที่นาจ่ายให้ร้อยละ 50 ของราคาที่กำหนดจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว พบว่า พระราชบัญญัติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 ไม่ได้บัญญัติให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนในส่วนของ ราคาของดินในแปลงเดียวกันที่เหลือจากการรอนสิทธิราคาลดลง แม้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทยจะกำหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือที่ดินที่เหลือจากการรอนสิทธิที่เหลือน้อยกว่า 1 ไร่ และ เหลือเกิน 1 ไร่ แต่ไม่สามารถใช้ที่ดินตามปกติวิสัยต่อไปได้ หลักเกณฑ์การช่วยเหลือก็ยังไม่ครอบคลุม ความเสียหายของประชาชน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยควรกำหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ ค่าทดแทนในส่วนของราคาของดินในแปลงเดียวกันที่เหลือจากการรอนสิทธิราคาลดลง เมื่อ เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีการกำหนดให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ เหลือในแปลงเดียวกันมีราคาลดลงโดยให้แยกออกจากค่าทดแทนในส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้มีการกำหนดค่าทดแทนที่ ครอบคลุมความเสียหายถึงแม้จะไม่อยู่ในส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืน แต่ได้รับผลกระทบก็ได้รับค่าทดแทน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3