การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
81 ซึ่งต่างจากการจ่ายเงินค่าทดแทนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่กำหนดเพียงบริเวณพื้น ที่ตั้งเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าพาดผ่านเท่านั้น ไม่ได้กำหนดการช่วยเหลือหรือการเยียวยาเงินค่าทดแทน ที่ดินส่วนที่เหลือในแปลงเดียวกันที่ถูกรอนสิทธิมีราคาลดลง ดังนั้นการจ่ายเงินค่าทดแทนของการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงยังไม่เป็นธรรมกับประชาชนเจ้าของที่ดิน เนื่องจากยังไม่ครอบคลุม ความเสียหายที่แท้จริงของประชาชนเจ้าของที่ดิน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในองค์ประกอบคณะกรรมการ การกำหนดค่าทดแทนของแต่ละจังหวัด ไม่มีประชาชนเจ้าของกรรมสิทธิ์เข้าไปมีส่วนร่วมหรือเป็น คณะกรรมการในการพิจารณาทำให้เกิดความไม่โปร่งใส จึงไม่เป็นธรรมกับประชาชนเจ้าของที่ดิน ประการที่สอง เรื่องที่เกี่ยวกับระยะเวลาการรอนสิทธิ จากการศึกษาข้อเท็จจริงที่ได้มาจากคำร้องของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่า เรื่องระยะเวลาการรอนสิทธิที่ดิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทยได้เคยชี้แจงเป็นเอกสารต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยส่งหนังสือ กฟผ. 411100/75 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2549 ชี้แจงต่อนายเกษม เชื่อทอง ผู้ร้องในประเด็นเรื่องระยะเวลา การรอนสิทธิว่าในส่วนการกำหนดอายุหรือระยะเวลาการรอนสิทธิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทยอ้างว่ากฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าอายุหรือระยะเวลาการรอนสิทธิมีระยะเวลาเท่าใดการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้เท่านั้น ไม่มีอำนาจแก้ไข เมื่อนำ คำชี้แจงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมาวิเคราะห์ ที่อ้างว่ากฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้จึงมี หน้าที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ ไม่มีอำนาจแก้ไข จากการศึกษาพบว่า ประชาชน เจ้าของที่ดินไม่สามารถดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลได้ เพราะการดำเนินการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทยนั้นใช้เครื่องมือดำเนินการทางกฎหมายมหาชนโดยออกระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ซึ่ง ถือว่าเป็นสัญญาทางปกครองตามหลักกฎหมายมหาชน ถ้าเป็นสัญญาทางปกครอง กรณีข้อสัญญาที่ ไม่เป็นธรรมไม่อาจนำมาใช้ได้ เนื่องจากไม่ใช่เรื่องของการผูกนิติสัมพันธ์ โดยปกติตามกฎหมายแพ่งถือ ว่าเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นประชาชนเจ้าของที่ดินไม่สามารถนำเรื่อง ระยะเวลาการรอนสิทธิมาดำเนินการในกระบวนการในชั้นศาลได้ ดังนั้นควรบัญญัติเพิ่มเติมเรื่อง ระยะเวลาการรอนสิทธิไว้ในพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 ไว้เสียให้ ชัดเจน นอกจากนี้ รังสรรค์ หลวงเมือง, (2558) ศึกษาเรื่องกรณีศึกษาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสีย ภาษีอากรที่ได้รับเงินค่าใช้ที่ดินเพื่อการติดตั้งเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทยซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงหลักทฤษฎีทาง กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีไทย อำนาจของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และทฤษฎีหลักกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการได้รับเงินค่าใช้ที่ดินเพื่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3