การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
82 ตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูงจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาการจัดเก็บภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาจากการได้รับเงินค่าใช้ที่ดินที่ราษฎรได้รับจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 3) เพื่อสรุปถึงปัญหาและเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาการตีความ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครอง สิทธิของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย พ.ศ.2511 ออกคำสั่งทางปกครองเข้าไปใช้ที่ดินของประชาชนเพื่อวางเสาไฟฟ้าแรงสูง ตามแนวสายส่งที่กำหนดเพื่อจ่ายไฟให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง เพื่อไปจำหน่าย ไฟฟ้าให้แก่ประชาชนอันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะชนทั่วไป โดยไม่มีกำหนด ระยะเวลาสิ้นสุด นิติสัมพันธ์ดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การที่รัฐจ่ายเงินค่าใช้ ที่ดินแก่เจ้าของที่ดินนั้นเงินดังกล่าวสมควรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิ ของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากกรณีศึกษานี้ควรดำเนินการดังนี้ 1) การวินิจฉัยตีความข้อ กฎหมายภาษีอากรที่จะเป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อาจเรียกอย่างง่าย ๆ ว่าธุรกรรมใดที่ควรเสียภาษีก็ควรวินิจฉัยให้เสียภาษีหรือธุรกรรมใดที่ควรได้รับ การยกเว้นภาษีก็ควรวินิจฉัยให้ยกเว้น โดยคำนึงถึงหลักกฎหมายภาษีอากรต้องตีความโดยเคร่งครัด การเก็บภาษีแม้จะทำให้รัฐบาลมีรายได้นำมาใช้จ่ายในการบริหารประเทศ แต่ก็เป็นเรื่อง กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนและเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของ บุคคล ฉะนั้นการที่จะเก็บภาษีจากบุคคลใด ในพฤติการณ์ใดจะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ เก็บได้ หากตัวบทกฎหมายที่ใช้เก็บภาษีอากรไม่ชัดแจ้ง กำกวม หรือตีความได้หลายนัย ก็ต้องตีความ ไปในทางที่เป็นคุณหรือประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีจะตีความโดยขยายความให้เป็นผลร้ายไม่ได้ การ ตีความกฎหมายภาษีอากรต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะในระบบการปกครอง แบบประชาธิปไตยที่มีการแบ่งแยกการใช้อำนาจ การเก็บภาษีจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับการตกลง ยินยอมโดยตรงจากประชาชนหรือได้รับการตกลงยินยอมโดยอ้อมผ่านทางผู้แทนของประชาชน อำนาจการจัดเก็บภาษีจึงมิใช่การใช้อำนาจตามอำเภอใจ แต่เป็นอำนาจที่มาจากการอนุมัติของ ประชาชนหรือปวงชนตามหลักการตกลงยินยอมทางภาษี (Consentement fiscal) เมื่อการเก็บภาษีมาจากการตกลงยินยอมของประชาชน การตีความกฎหมายภาษีอากรจึงต้อง คำนึงถึงเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนในการตรากฎหมายภาษีอากรด้วย การตีความกฎหมายภาษีอากรต้องคำนึงถึงความเป็นเอกเทศของกฎหมายภาษีอากร หลักความเป็น เอกเทศของกฎหมายภาษีอากร คือหลักที่ว่า ผู้บัญญัติกฎหมายมีอำนาจตราบทบัญญัติกฎหมายภาษี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3