การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

83 อากรให้มีเนื้อหาสาระที่แตกต่างจากแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายในสาขาอื่นได้ รวมทั้งไม่จำเป็นต้อง กำหนดเนื้อหาสาระของกฎหมายภาษีอากรในลักษณะเดียวกันกับที่ปรากฎในกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ การตีความกฎหมายภาษีอากรไม่ต้องคำนึงถึงหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่ง เจตนาเสมอไป การ ตีความคำที่กฎหมายภาษีอากรมิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษจะต้องตีความตามความหมายที่เข้าใจกันอยู่ ทั่วไป หรือตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้บัญญัติไว้ การตีความตามหลักเกณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดไว้ โดยเฉพาะก็ต้องตีความตามหลักเกณฑ์นั้น การวินิจฉัยที่จะสร้างภาระให้แก่ประชาชนหรือตีความไป ในทางที่เกิดผลผิดปกติ ไม่คำนึงถึงหลักการภาษีอากรที่ดีของ Adam Smith ได้แก่ หลักความเป็น ธรรมและหลักความแน่นอนไม่ได้ เช่นเดียวกับกรณีศึกษาเมื่อคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายตาม พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 เงินค่าทดแทนที่จ่ายให้แก่ ราษฎรเจ้าของทรัพย์สินที่การไฟฟ้าเข้าไปใช้ หรือทำลาย หรือมีข้อห้ามใช้ทรัพย์สินโดยปกติสุขนั้น มี เจตนาเพื่อทดแทน เยียวยา ความเดือนร้อนเสียหายที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกระทำโดย มุ่งผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ การที่หน่วยงานของรัฐได้จ่ายเงินค่าใช้ที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นการที่ รัฐให้การอุปการะตามหน้าที่ธรรมจรรยาแก่ประชาชนของตนจึงควรได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา 2) เพื่อความชัดเจนป้องกันมิให้เกิดกรณีที่ต้องวินิจฉัยตีความจึงมีความจำเป็นที่จะต้อง บัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน จึงเห็นควรดำเนินการแก้ไขปรับปรุง กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ (1) ควรปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย พ.ศ.2511 ความว่า “มาตรา 30 ตรี เงินค่าทดแทนความเป็นธรรมที่เจ้าของหรือผู้ ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นได้รับจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามมาตรา 30 ให้ ได้รับการยกเว้นภาษีอากรตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรกำหนด ไว้” (2) กรมสรรพากรในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีอากรที่บัญญัติไว้ตาม ประมวลรัษฎากร ควรอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อ ยกเว้นภาษีอากรความว่า พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ….“ให้ ยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรหมวด 3 ส่วน 2 สำหรับผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินจากการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทยตามมาตรา 30 ตรี แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ ...เป็นต้นไป” จากงานวิจัยทั้ง 4 เรื่องนั้นต่างศึกษาเรื่อง “ค่าทดแทนในกรณีการเวนคืนทรัพย์สินของเอกชนมา เป็นของรัฐ ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ศึกษาเรื่อง “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับราคา ลดลงของที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530” ศึกษา“เรื่องการคุ้มครองสิทธิเจ้าของที่ดินจากการรอนสิทธิที่ดินในการสร้างเสาส่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3