หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล

6 หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล ร้ายแรงแก่เด็ก อาทิ ความเชื่อทางศาสนาอิสลามที่ห้ามรับเลือดจากผู้อื่นแล้วเด็กเกิดเสียเลือดหาก ไม่ได้รับเลือดจะต้องตายแน่ๆ กรณีนี้รัฐก็จะเข้ามาแทรกแซงการตัดสินใจเพื่อรักษาชีวิตเด็กเอาไว้ ใน ประเทศไทยแต่เดิมก็มิได้ระบุอายุเอาไว้แต่เมื่อมีการประกาศสิทธิผู้ป่วยได้กําหนดอายุไว้ 18 ป ี 9 1.๕ รูปแบบแสดงความยินยอมเพื่อการรักษา หากพิจารณาจากหลักกฎหมายความยินยอมของผู้ป่วยที่จะรับการรักษาเป็นความยินยอมให้ แพทย์กระทําต่อร่างกาย ถ้าได้ดําเนินการโดยถูกต้องย่อมถือเป็นเหตุผลทางกฎหมายในการกระทําต่อ ร่างกายผู้ป่วยและความยินยอมดังกล่าวก็ไม่จําเป็นต้องทําเป็นหนังสือจะนําสืบพยานบุคคลว่ามีการให้ ความยินยอมก็ย่อมกระทําได้ แต่อย่างไรก็ตามการนําสืบพยานบุคคลอาจไม่เกิดความชัดเจนเท่ากับ การนําสืบพยานเอกสาร ดังนั้นหากได้พูดคุยอธิบายให้ผู้ป่วยฟังและผู้ป่วยเห็นด้วยกับการรักษาก็ควร บันทึกไว้ในเวชระเบียน สําหรับกรณีร้ายแรงที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลหรือต้องได้รับการผ่าตัด มักจะมีแบบฟอร์มให้ผู้ป่วยหรือญาติลงนามไว้ ข้อที่น่าพิจารณาต่อไปก็คือว่าถ้าเช่นนั้นหนังสือแสด ง เจตนาที่ว่านี้ควรจะมีข้อความหรือสาระสําคัญอย่างไร ในสหรัฐอเมริกามีการจัดทำเอกสารความ ยินยอมในรูปแบบบันทึกความคืบหน้าโดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ แบ่งออกเป็น (1) ลักษณะของ ขั้นตอนการรักษา (2) ความเสี่ยงและผลประโยชน์ (3) ทางเลือกที่สมเหตุสมผล (4) ความเสี่ยงและ ประโยชน์ของทางเลือก และ (5) การประเมินความเข้าใจของผู้ป่วยในองค์ประกอบที่ 1 ถึง 4 หรือไ ม่ 10 แต่ในกรณีของประเทศไทยนั้นกฎหมายยังไม่ได้กำหนดรูปแบบอย่างไรไว้ หากพิจารณาจาก เหตุผลในเรื่องความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวที่เรียกว่า “ Informed Consent” ก็เพื่อให้ผู้ป่วย ได้รับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดของการรักษาและนํามาสู่การตัดสินใจของผู้ป่วย เมื่อเป็นดังนี้สาระสําคัญที่ ควรจะมีอยู่ในหนังสือแสดงความยินยอมก็คือรายละเอียด เกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ ชื่อ ที่อยู่ ของ ผู้ป่วยหรือญาติซึ่งต้องมีอยู่แล้วเหมือนแบบฟอร์มโดยทั่วไป ส่วนสาระสําคัญที่ตามมาก็คือข้อความที่ แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาจากแพทย์และพยาบาลผู้รักษาแล้วและ ได้ตัดสินใจหรือยินยอมที่จะรับการรักษานั้นพร้อมกับลงนามไว้เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว การที่ โรงพยาบาลบางแห่งมีข้อความเพิ่มเติมว่าหากเกิดความเสียหายใดๆ ขึ้นผู้ป่วยจะไม่ทําการฟ้องร้อง หรือเรียกร้องสิ่งอื่นใดๆ ก็ตาม ข้อความที่เพิ่มดังกล่าวไม่มีผลทางกฎหมายคือแม้มีข้อความดังกล่าวอยู่ ก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้ในเรื่องนี้คงจะต้องแยกความแตกต่างและทําความเข้าใจให้ชัดเจนว่าการ ยินยอมให้แพทย์และพยาบาลกระทําการรักษานั้นเป็นความยินยอมของผู้ป่วยที่แสดงออกให้แพทย์ และพยาบาลกระทําต่อร่างกายของตนได้และถ้าแพทย์และพยาบาลได้ปฏิบัติตามมาตรฐานแห่งการ ประกอบวิชาชีพ ผู้ป่วยจะมาฟ้องร้องแพทย์และพยาบาลว่าทําร้ายร่างกายไม่ได้ แต่ในอีกกรณีหนึ่ง 9 กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. (2020). คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย. <https://mrd.hss.moph.go.th/mrd1_hss/?p=2714 > สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. 10 Parth Shah; Imani Thornton; Danielle Turrin; John E. Hipskind. [Updated 2023 Jun 5]. อ้างแล้ว.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3