หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล

หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล 7 แม้ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยแล้ว หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพตาม วิสัยและพฤติการณ์ ในกรณีนั้นๆ และได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายหรือถึงขั้นเสียชีวิตอันเป็น ผลโดยตรงจากความประมาท ของแพทย์หรือพยาบาล ผู้ป่วยยังคงมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ได้และอาจจะฟ้องเป็น คดีอาญาได้ด้วย การแสดงความยินยอมให้ทําการรักษากับการฟ้องร้องเรียก ค่าเสียหายจึงเป็นคนละกรณีกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการที่ผู้ป่วยยินยอมให้แพทย์และพยาบาลทําการ รักษามิได้หมายความว่า ยินยอมให้แพทย์และพยาบาลกระทําการโดยประมาทได้ด้วยข้อความในใบ ยินยอมให้รักษาพยาบาลที่ระบุเพิ่มเติมว่าหากเกิดความเสียหายขึ้นผู้ป่วยจะไม่ทําการฟ้องร้องจึงไม่มี ผลในทางกฎหมายและขัดกับหลักกฎหมายโดยชัดแจ้งด้วย 1.๖ ความยินยอมกับความรับผิดทางละเมิด กรณีเรื่องของความยินยอมนั้นบางกรณีเป็นเหตุยกเว้นความผิด เช่น แดงเป็นโรคร้ายแรง แพทย์จำต้องทำการผ่าตัดขาของแดงข้างหนึ่งแดงยินยอมให้แพทย์ทำการผ่าตัดขาการที่แพทย์ตัดขา แดงเป็นการทำร้ายได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 297 เพราะการผ่าตัดก็ถือว่าเป็นการทำร้าย ร่างกายแล้ว แต่แพทย์ไม่มีความผิดมาตรา 297 เพราะความยินยอมของแดง ความยินยอมที่จะ ยกเว้นความผิดได้นั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และการที่บุคคลยินยอมเข้าชกมวยกันเพื่อความมุ่งหมายในการกีฬามิใช่เพราะความอาฆาตถือว่าความ ยินยอมนั้นเป็นการยกเว้นความผิดแต่ถ้าหากชกกันเพระอาฆาตไม่ใช่เพราะการกีฬาแม้จะสวมนวมชก กันบนเวทีก็ไม่เป็นการยกเว้นความผิด อย่างไรก็ดียังมีผู้อธิบายว่าแพทย์ที่ตัดขาคนหรือผ่าท้องตาม วิชาการแพทย์เป็นเรื่องที่กฎหมายอนุญาตให้ทำ การกระทำของแพทย์ก็เป็นการประกอบวิชาชีพเวช กรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน การผ่าตัดนั้นจึงมิใช่ การทำร้ายร่างกายตามกฎหมายอาญาแต่อย่างใด แต่การกระทำที่จะเป็นการประกอบวิชาชีพตาม กฎหมายนั้น มีองค์ประกอบ 3 ประการ 1) ผู้กระทำเป็นผู้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต 2) การ กระทำนั้นอยู่ในขอบข่ายของการประกอบวิชาชีพนั้นๆ และ 3) ผู้ป่วยให้ความยินยอมโดยสมบูรณ์ (Informed consent) หากไม่ครบเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อ แพทย์จะมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย (ปอ. ม. 295) ดังนั้น กรณีผู้ป่วยไม่ยอมให้แพทย์และพยาบาลกระทำการรักษาหรือยอมโดยไม่สมบูรณ์ไม่รู้ สภาพของการกระทำย่อมไม่เป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทย์และพยาบาลจึงผิดฐานทำร้าย ร่างกาย บางกรณีต้องพิจารณาจากสภาพการกระทำ เช่น แพทย์และพยาบาลจับชีพจรหรือวัดความ ดันโลหิตหรือใช้หูฟังแตะบริเวณร่างกายไม่ใช่การทำร้ายร่างกายถ้าแพทย์และพยาบาลกระทำโดย ผู้ป่วยไม่ยินยอมดังกล่าวจึงไม่น่าจะมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย แต่ถ้าเป็นการฉีดยา ผ่าตัด หรือสอด สายเครื่องมือเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยหรือให้ยาสลบย่อมเป็นการทำร้ายร่างกาย ทำนองเดียวกันกรณี ผู้กระทำการตรวจรักษาผู้ป่วยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแม้ผู้ป่วยจะยินยอม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3