หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล
8 หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล การกระทำเช่นนั้นก็มิใช่การประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย หากแต่เป็นการประกอบวิชาชีพที่ผิด กฎหมาย นอกจากจะมีความผิดตามกฎหมายวิชาชีพแล้วยังมีสภาพเป็นการทำร้ายร่างกาย เช่น หมอ เถื่อนฉีดยาหรือผ่าตัด แต่ในกรณีที่แพทย์ได้ลงมือรักษาไปแล้วและไม่ได้บอกกล่าวรายละเอียดการ รักษารวมถึงความเสี่ งที่อาจเกิดขึ้นให้ผู้ป่วยได้ทราบก่อนนั้น แพทย์จะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อเข้า หลักเกณฑ์ 4 ประการ ดังนี้ 1) แพทย์มีหน้าที่ต้องอธิบายหรือบอกกล่าว 2) การไม่บอกกล่าวถือว่า เป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ 3) เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ผู้ป่วยจากการกระทำของแพทย์ 4) อันตรายหรือความเสียหายนั้นเป็นผลโดยตรงจากการไม่อธิบายบอกกล่าวของแพทย์ กล่าวคือ หาก แพทย์ได้บอกถึงอัตราเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นผู้ป่วยคงจะปฏิเสธการตรวจรักษานั้นตั้งแต่ต้ น 11 หลักความยินยอม (Volenti non fit injuria) เป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ศาลยอมรับให้จำเลย กล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบในมูลละเมิดที่ตนได้กระทำลงไปภายใต้ตวามยินยอมของ ผู้เสียหายควรที่จะถูกนำมากล่าวอ้างได้ตราบเท่าที่การให้ความยินยอมของผู้เสียหายนั้นไม่ขัดต่อ กฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งศาลไทยได้ปรับใช้หลักกฎหมายดังกล่าวในคดีอาญา ดัง คำพิพากษาศาลซึ่งได้วินิจฉัยวางหลักเอาไว้ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการ ที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความสำนึกในทางศีลธรรมอันดีและมีอยู่ ขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำ นั้นเป็นความผิดขึ้นได้ (ฎีกาที่ 616/2482, 787/2483, 1403/2508) สำหรับคดีแพ่งนั้นแนวคำ พิพากษาของศาลไทยเดินไปในทำนองเดียวกันกับแนวคำพิพากษาของศาลอังกฤษ ทั้งๆ ที่อังกฤษเป็น ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายแบบ Common Law เป็นกฎหมายที่กล่าวถึงระบบกฎหมายจารีต ประเพณีหรือระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งใช้ใปประเทศต่างๆ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ อังกฤษ อเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งเป็นกฎหมายคนละระบบกับ ประเทศไทย กล่าวคือศาลไทยยอมรับว่าหลัก Volenti non fit injuria เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยในคดี ละเมิดสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของตนที่ ไป ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายได้เพราะเหตุที่ผู้เสียหายนั้นมีความยินดีที่จะรับผลร้ายที่เกิดขึ้นไว้ กับตัวเองเพราะฉะนั้นจึงไม่อาจที่จะถือได้ว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้เสียหาย นอกจากนี้ ไพจิตร ปุญญพันธุ์ ได้เขียนหมายเหตุท้ายฎีกาที่ 673/2510 โดยอธิบายไว้ว่า สำหรับกฎหมายไทยโดยเหตุที่ เราต้องแยกความรับผิดทางแพ่งกับทางอาญาออกจากกันเพราะมีบทบัญญัติให้รับผิดต่างกันดังกล่าว มาแล้ว ผู้บันทึกจึงมีความเห็นว่าแม้ความผิดนั้นจะเป็นความยินยอมต่อการกระทำผิดทางอาญาและ จะร้ายแรงสักเพียงใด ในทางแพ่งก็ยังยกเอาความยินยอมของโจทก์ผู้เสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ทำให้ไม่ ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไมทดแทนทางแพ่งได้ 11 ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง. (2541). อ้างแล้ว.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3