หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล

หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล 9 1.๗ แนวคำพิพากษา ฎ.673/2510 การที่โจทก์ท้าให้จำเลยฟันร่างกายของตนเองนั้นเพื่อทดลองคาถาอาคมซึ่งตนเชื่อถือและ อวดอ้างว่าตนอยู่คงกระพันนั้น เป็นการที่โจทก์ได้ยอมหรือสมัครใจให้จำเลยทำต่อร่างกาย เป็นการ ยอมรับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ตามกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึง ฟ้องจำเลยให้รับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ได้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2510) จากคำพิพากษาแต่เดิมจะเห็นได้ว่าศาลไทยยอมรับข้อต่อสู้ในเรื่องหลัก Volenti non fit injuria มาใช้โดยไม่ได้นำเรื่องความชอบด้วยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนมาเป็นตัว พิจารณาแต่อย่างใด ต่อมาภายหลังจากที่ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติไว้ว่าความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจะนำมา อ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้ จึงมีผลให้ความยินยอมให้ผู้อื่นฟันร่างกาย ตนเองเพื่อลองวิชาอาคมต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน เมื่อผู้ให้ความยินยอมได้รับอันตรายแก่ร่างกายผู้กระทำจะอ้างความยินยอมมาเป็นเหตุ ยกเว้นความรับผิดในมูลละเมิดมิได้ เมื่อพิจารณาในมุมมองกฎหมายจากข้อเท็จจริงแล้วจะพบว่าการ เอามีดฟันผู้อื่นนี้เป็นการทำร้ายร่างกายผู้อื่นดีไม่ดีอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เป็นการทำให้เกิดความเสียหาย แก่ชีวิตและร่างกายซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่เป็นอย่าง มากเป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีอย่างเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้หากพิจารณาตามหลัก Innocent Consent ซึ่งเป็นความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายในทางอาญาแล้ว แม้ผู้เสียหายจะ ให้ความยินยอมให้จำเลยทำร้ายร่างกายตนได้ก็ตาม แต่ความยินยอมดังกล่าวก็เป็นการแสดงออกถึง ความเชื่อทางไสยสาสตร์ที่งมงาย ซึ่งความเชื่อที่งมงายนี้ก็ยังก่อให้เกิดการทำร้ายร่างกายกันขึ้นอีก จึง เป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่อาจใช้อ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิด ในทางอาญาของจำเลยได้ สรุปท้ายบท ความยินยอมเพื่อการรักษานั้นประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้ให้ความยินยอมต้องให้ความยินยอม กับตัวผู้กระทำโดยตรงเนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำละมิดกับผู้ถูกทำละเมิดเท่านั้น การ ยินยอมผู้ให้ความยินยอมจะต้องเข้าใจในผลแห่งความยินยอมนั้น กล่าวคือจะต้องเข้าใจหยั่งรู้ถึงการ กระทำและรู้คุณค่าของการกระทำว่าดีหรือไม่ เข้าใจถึงธรรมชาติของการกระทำและผลที่อาจเกิดขึ้น จากการกระทำนั้น ผู้ที่ให้ความยินยอมได้นั้นจะต้องเป็นผู้ใหญ่พอสมควรและมีจิตปกติไม่เป็ นผู้ วิกลจริต สำหรับการให้ความยินยอมต้องเกิดขึ้นโดยสมัครใจคือผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำละเมิด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3