หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล

10 หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล จะต้องให้ความยินยอมโดยปราศจากการหลอกลวง ข่มขู่ สำคัญผิด หรือขาดสติสัมปชัญญะ สิ่งต้อง ควรรู้อีกประเด็นคือ ระยะเวลาการให้ความยินยอม กล่าวคือความยินยอมนั้นต้องให้ก่อนหรือขณะ กระทำละเมิดผู้เสียหายจะให้ความยินยอมล่วงหน้านานแค่ไหนก็ได้แต่อย่างน้อยจะต้องมีอยู่เวลา กระทำและมีอยู่ตลอดการกระทำนั้น ตราบใดที่ยังไม่ถอนการให้ความยินยอมถือว่าความยินยอมนั้น ยังคงใช้ได้อยู่การบอกเลิกหรือถอนการให้ความยินยอมจะทำเมื่อใดก็ได้ก่อนการละเมิดสิ้นสุดลงและ การบอกเลิกการให้ความยินยอมนั้นไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนั้น การให้ความยินยอม ทางด้านการรักษาพยาบาล หากผู้ที่ให้การรักษาผู้ป่วยให้การรักษาไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่ง วิชาชีพก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อจึงเป็นการ กระทำละเมิดต่อผู้ป่วย บรรณานุกรม Durand MA, Moulton B, Cockle E, Mann M, Elwyn G . Can shared decisionmaking reduce medical malpractice litigation? A systematic review . BMC Health Serv Res. 2015; 15:167. Neff MJ. Informed consent: what is it? Who can give it? How do we improve it? Respir Care . 2008; 53(10):1337–41. Parth Shah; Imani Thornton; Danielle Turrin; John E. Hipskind. [Updated 2023 Jun 5]. Informed Consent . In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2023 Jan-. <https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK430827/> สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. Pietrzykowski, T., Smilowska, K. The reality of informed consent: empirical studies on patient comprehension-systematic review . Trials . 2021 Jan 14;22(1):57 . <https://doi.org/10.1186/s13063-020-04969-w> สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2558). ความยินยอมเพื่อรับการรักษากับการรักษาพยาบาลเชิงพาณิชย์. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. ปีที่ 1 เล่มที่ 2 :136-148. <https://phad.ph.mahidol.ac.th/journal_law/1-2/09_Sawaeng.pdf > สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. (2020). คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย . <https://mrd.hss.moph.go.th/mrd1_hss/?p=2714> สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3