หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล
หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล 149 2. ต้องเป็นกลุ่มยาเคมีบำบัดที่ได้มีการเตรียม หรือผสมเรียบร้อยแล้วจากผู้ที่มีหน้าที่ รับผิดชอบที่มิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง 3. ต้องให้กลุ่มยาเคมีบำบัดได้เฉพาะทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย หรือทางหลอด เลือดดำที่เปิดไว้แล้วโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (2) ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง ขอบเขตการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญเฉพาะทางสาขา การพยาบาลด้านการให้ยาระงับความรู้สึ ก 79 กล่าวว่า 1) ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก 1.1 วางแผนการเลือกใช้วิธีการให้ยาระงับความรู้สึก 1.2 ประเมินความเสี่ยงตามระดับสภาพร่างกาย 1.3 ประเมินการทำหน้าที่ของระบบต่างๆ ในร่างกาย 1.4 ประเมินความพร้อมด้านจิตใจ 1.5 แยกแยะความผิดปกติของเสียงการหายใจและการเต้นของหัวใจ 2) บริหารยาระงับความรู้สึกและเฝ้าระวังผู้ป่วยระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกให้เป็นไป ตามแนวปฏิบัติ ดังนี้ 2.1 บริหารยาระงับความรู้สึกได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย 2.2 วินิจฉัยสาเหตุของความผิดปกติด้านระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด และอุณหภูมิ 2.3 ควบคุมสัญญาณชีพที่ไม่คงที่ (อันเป็นผลตามมาจากการให้ยาระงับความรูสึกที่ อยู่ในวิสัยพึงเกิดขึ้นได้) ซึ่งควบคุมได้ด้วยการปรับระดับความตื้นลึกของยาระงับความรู้สึก 2.4 ควบคุมปริมาณสารน้ำ เลือด และส่วนประกอบของเลือด 2.5 ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย 3) ประเมินผู้ป่วยในระยะพักฟื้นหลังให้ยาระงับความรู้สึก 3.1 ประเมินภาวะผู้ป่วยในการจำหน่ายผู้ป่วยกลับหอผู้ป่วยหรือกลับบ้านอย่าง ปลอดภัย 79 ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง ขอบเขตการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ได้รับวุฒิบัตร แสดงความรู้ ความชำนาญเฉพาะทางสาขาการพยาบาลด้านการให้ยาระงับความรู้สึก. (๓ มีนาคม ๒๕๕๑). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๔๕ ง หน้า ๔๕-๔๘. <https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php > สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3