หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล
หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล 157 3.4) ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ผู้รับผิดชอบหรือปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ ตามมาตรา ๔๕ ทวิ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ 3.5) หากผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่ง เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เมื่อการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์เป็นการกระทำต่อ เนื้อตัวร่างกายของมนุษย์แล้วนั้น การควบคุมกำกับจึงเป็นหลักประกันอย่างหนึ่งว่าทุก ๆ คนที่เข้ารับ การรักษาจะได้รับการบริการจากพยาบาลที่มีมาตรฐาน ได้รับความปลอดภัยจากการให้การรักษ า ทั้งนี้ ด้วยการควบคุมกำกับผ่านทางบทบัญญัติกฎหมาย ข้อบังคับจริยธรรม และการติดตามตรวจสอบ โดยเจ้าหน้าที่ ๕.๘ การส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมและกรณีศึกษา ๑) การส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรม การส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมเป็นการปลูกฝังเพื่อพัฒนาจริยธรรมให้แก่พยาบาลสามารถ นําไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาจริยธรรมที่คงทนสำหรับพยาบาลนั้นจะต้องได้รับการฝึกฝน ปฏิบัติกระตุ้น ตอกย้ำ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของการเป็นพยาบาล รูปแบบส่งเสริม พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย ๔ แนวทาง คื อ 82 (๑) การสร้างระบบและกลไกเพื่อส่งเสริมให้พยาบาลมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรม (๒) การพัฒนาความรู้และทักษะทางจริยธรรมของพยาบาล (๓) การปรับเปลี่ยนทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพ (๔) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ในการเตรียมความพร้อมด้านจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล มีความจำเป็นต้องส่งเสริม และปลูกฝังตั้งแต่เป็นนักศึกษาพยาบาลเนื่องจากผลการศึกษาเรื่องคุณธรรมจริยธรรมตามการรับรู้ของ นักศึกษาพยาบาล พบว่า นักศึกษารับรู้ว่าตนเองมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในระดับสูงสุด และควา ม อดทนอยู่ในระดับต่ำสุ ด 83 สอดคล้องกับการศึกษาคุณธรรมของนักศึกษาพยาบาลที่ศึกษาในวิทยาลัย พยาบาล พบว่า ความมีวินัยมีคะแนนสูงสุดส่วนความรับผิดชอบมีคะแนนน้อยที่สุ ด 84 82 รัตนา ทองแจ่ม. (๒๕๖๔). การพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. <https://e- thesis.mcu.ac.th/storage/6BihZAqyvYF9gqjy9LKxVbxNmOlVtKx7S4FZ8KFY.pdf > สิบค้นเมื่อ 15 มกราคม ๒๕๖๗. 83 พิศสมัย อรทัย และ เพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดี พยาบาลสาร, 16(3), 350-63. 84 สุรีพร ดวงสุวรรณ์, พูลสุข หิงคานนท์, ปกรณ์ ประจันบาน, และกาญจนา สุขแก้ว. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะใน การ ปฏิบัติงานกับคุณภาพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 17. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 5(2), 67-77.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3