หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล
หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล 161 บทวิเคราะห์ พิเคราะห์ประเด็นความรับผิดทางอาญา เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ. 2528 มาตรา 27 มาตรา 46 เป็นความผิดหลายกรรม ต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเรียงกระทงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา91 ฐานร่วมกัน ปลอมเอกสารราชการและร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอม ในกรณีนี้จำเลยเป็นผู้ปลอมและผู้ ใช้ เอกสารปลอมเอง จึงต้องรับโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 265 แต่กระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง จำคุกหนึ่งปี ฐานกระทำการพยาบาลหรือ แสดงตัวให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุกหนึ่งปี รวมสองปี กรณีศึกษา พยาบาล...ฉีดยาผู้ป่วยผิดค น 88 ผู้ป่วยเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล จ แผนกสูตินรีเวช เนื่องจากปวดท้องประจำเดือน แพทย์ สั่งฉีดยาระงับปวด 1 เข็ม ระหว่างรอคิวฉีดยา พยาบาลเดินมาเปิดแขนเสื้อและฉีดยาให้ที่หัวไหล่ซ้าย และขวา ส่งบัตรนัดให้และพูดว่า “ถ้าหากสุนัขหรือแมวกัดมา ก็ให้มาฉีดซ้ำได้เลย” ผู้ป่ว ยเปิดดูและ บอกว่า “ไม่ใช่ ค่ะ” พยาบาลพูดว่า “อ้าว !! ฉีดยาผิด” แล้วรีบนำผู้ป่วยขึ้นเตียงนอนและฉีดยาให้ใหม่ ผู้ป่วยกลับบ้าน และมีอาการเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่มีสมาธิทำงาน เป็นเวลา 3 วัน บทวิเคราะห์ พิเคราะห์ประเด็นความรับผิดทางอาญา เห็นว่า เมื่อมีหลักฐานว่าในวันเกิดเหตุพยาบาล ก ปฏิบัติหน้าที่พยาบาลประจำห้องฉีดยา ได้นำวัคซีน SPEEDA 0.1 ml ID* พร้อมอุปกรณ์การฉีด ซึ่ง พนักงานช่วยการพยาบาลได้นำยาและใบสั่งฉีดยาวางเตรียมไว้บนโต๊ะบริเวณที่มีผู้ป่วยรอฉีดยา พยาบาล ก เดินมาเปิดแขนเสื้อของผู้ป่วยแล้วฉีดยาที่หัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง โดยไม่ได้ถามชื่อหรือพูดคุยใด ๆ ส่งบัตรนัดคืนและพูดว่า “ถ้าหากสุนัข แมวกัด ก็ให้มาฉีดซ้ำได้เลย” ผู้ป่วยเห็นชื่อในบัตรนัด จึง ทักท้วงขึ้น พยาบาล ก จึงพูดว่า “อ้าว ฉีดยาผิด” และรีบนำผู้ป่วยขึ้นเตียงนอนฉีด DMPA 1 Amp เข้ากล้ามเนื้อ และให้กลับบ้าน จริง จึงเห็นว่า การที่พยาบาล ก นำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (SPEEDA 0.1 ml ID*) ฉีดให้กับผู้ป่วย โดยมิได้ตรวจสอบ ทวนถามชื่อ-นามสกุล ผู้ป่วยก่อนฉีดยา จน เป็นเหตุให้ฉีดยาผู้ป่วยผิดคนและผู้ป่วยได้รับยาผิดชนิด พยาบาล ก ควรปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ตาม มาตรฐานวิชาชีพ โดยต้องคำนึงถึงหลักการ ขั้นตอนการบริหารยาให้เป็นไปตามมาตรฐานการให้ยา พื้นฐาน 5R คือ 1. Right Drug ให้ยาถูกชนิด 2. Right Patient ให้กับผู้ป่วยถูกคน 3. Right Dose ให้ขนาดถูกต้อง 4. Right Route ให้ยาถูกทาง และ 5. Right Time ให้ยาตามเวลา และก่อนการให้ ยาควรจะต้องทวนสอบ หรือยืนยันตัวบุคคลก่อนเริ่มการให้ยา อันเป็นมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ 88 ศศินันท์ ชอบทำกิจ. (2565). เรื่องที่พยาบาลต้องรู้ : ประเด็นทางกฎหมายและการประกอบวิชาชีพ. จดหมายข่าวสภาการพยาบาล. ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน) หน้า 1-15.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3