หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล

2 หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล อธิบายหรือบอกกล่าวให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ รายละเอียด ผลที่อาจเกิดขึ้นทั้งผลดีและผลเสียจาก การกระทำนั้ น 3 สรุปได้ว่าความยินยอมเพื่อการรักษา หมายถึง กระบวนการที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการ แพทย์ได้อธิบายหรือบอกกล่าวให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ รายละเอียด และผลที่อาจเกิดขึ้นทั้ง ผลดีและผลเสียก่อนการรักษา โดยผู้ป่วยเข้าใจในรายละเอียดและสมัครใจให้ความยินยอมเพื่อให้ผู้ ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์กระทำต่อร่างกายและจิตใจของตนตามกรรมวิธีในวิชาชีพนั้น 1.๒ หลักเกณฑ์การให้ความยินยอมเพื่อรักษา ความยินยอมเพื่อรักษานั้นอยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นอิสระและการอำนวยความสะดวก ในรูปแบบการร่วมกันตัดสินใจระหว่างแพทย์และผู้ป่ว ย 4 ผู้ป่วยมีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะ ยอมรับหรือปฏิเสธการรักษาที่นำเสนอ โดยแพทย์และพยาบาลจะต้องให้ความเคารพต่อการตัดสินใจ ดังกล่าวของผู้ป่วยด้ว ย 5 6 ด ังนั้นการเข้าใจถึงรายละเอียดการรักษาจึงมีความสำคัญต่อการตัดสินใจ ของผู้ป่วยอย่างมาก โดยมีหลักเกณฑ์การให้ความยินยอม มีดังนี้ 1) ผู้ให้ความยินยอมต้องเป็นผู้ถูกกระทำ กล่าวคือในเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 420 นั้น บรรดาความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ล้วนแต่เป็นความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ถูกกระทำทั้งสิ้น ฉะนั้นหากจะมีการ กระทำใดอันเป็นการละเมิดสิทธิประเภทนี้เกิดขึ้นแล้วก็เป็นเรื่องสมควรที่ผู้ถูกกระทำจะต้องเป็นผู้ อนุญาตให้กระทำด้วยตนเองเท่านั้น 2) ผู้ให้ความยินยอมต้องให้ความยินยอมกับตัวผู้กระทำโดยตรง เนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ทำละมิดกับผู้ถูกทำละเมิดเท่านั้น เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไปเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการผ่าตัด ซึ่งก่อนการผ่าตัดจะต้องมีการเซ็นหนังสือยินยอมเอาไว้ก่อนซึ่งจะเห็นได้ว่ากรณีนี้ผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตนจะ ได้แพทย์คนไหนมาผ่าตัดให้ เว้นแต่ผู้ป่วยจะระบุตัวแพทย์ที่จะมาผ่าตัดให้ตน 3) ผู้ให้ความยินยอมจะต้องเข้าใจในผลแห่งความยินยอมนั้น กล่าวคือผู้ให้ความยินยอม จะต้องเป็นผู้ใหญ่พอสมควรและมีจิตปกติไม่เป็นผู้วิกลจริต ต้องเข้าใจหยั่งรู้ถึงการกระทำและรู้คุณค่า 3 วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2530). ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวในเวชปฏิบัติ อ้างใน ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง. (2541). ความยินยอม ในเวชปฏิบัติทางจิตเวช. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 43(4): 368-77. <https://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/v4347.html >สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. 4 Pietrzykowski, T., Smilowska, K. The reality of informed consent: empirical studies on patient comprehension- systematic review. Trials. 2021 Jan 14;22(1):57. <https://doi.org/10.1186/s13063-020-04969-w> สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. 5 Neff MJ. Informed consent: what is it? Who can give it? How do we improve it? Respir Care. 2008;53(10):1337– 41. 6 Durand MA, Moulton B, Cockle E, Mann M, Elwyn G. Can shared decisionmaking reduce medical malpractice litigation? A systematic review. BMC Health Serv Res. 2015; 15:167.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3