หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล

หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล 3 ของการกระทำว่าดีหรือไม่โดยประสบการณ์ของตนเอง เข้าใจถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ซึ่ง ข้อมูลทางการแพทย์เป็นข้อมูลที่แพทย์จะต้องอธิบายหรือบอกกล่าวแก่ผู้ป่วย ได้แก่ 7 (1) การวินิจฉัยโรค คือ ป่วยเป็นโรคอะไร โรคนี้ทำให้เกิดอาการอย่างไรและรุนแรง เพียงใด (2) วิธีการที่แพทย์ตรวจรักษา รวมทั้งอธิบายรายละเอียดของวิธีการเหล่านั้น (3) อัตราเสี่ยงหรืออันตรายหรือผลร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากการตรวจรักษา โดยอย่างน้อย ต้องอธิบายหรือบอกกล่าวถึงอันที่มีความรุนแรงถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสพิการหรือตายหรือที่มีโอกาส เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง (4) ความคาดหวังในความสำเร็จในการตรวจรักษานั้นมีโอกาสมากน้อยเพียงใด (5) การพยากรณ์โรค คือ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการตรวจรักษาตามวิธีการของแพทย์ที่บอก กล่าวไว้ ต่อไปภาวะของผู้ป่วยจะเป็นอย่างไร (6) ถ้าไม่ตรวจรักษาโดยวิธีของแพทย์ที่บอกกล่าวไว้นั้น จะมีวิธีอื่นที่เป็นทางเลือกสำหรับ ผู้ป่วย อีกหรือไม่ และมีอัตราเสี่ยงหรือผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม อาจมีบางกรณีที่แพทย์ สามารถทำการตรวจรักษาได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย 4) การให้ความยินยอมต้องเกิดขึ้นโดยสมัครใจ โดยมีลักษณะดังนี้ มีการแสดงออกซึ่งความ ยินยอมโดยเปิดเผยหรือโดยปริยาย ความยินยอมนั้นต้องปราศจากการข่มขู่ บังคับ หลอกลวงหรือ สำคัญผิด ผู้ยินยอมสามารถรับผิดชอบตนเองได้มีสติสัมปชัญญะ ความยินยอมต่อสิ่งหนึ่งไม่รวมถึงสิ่ง อื่นที่เพิ่มเติมหรือแตกต่างออกไป ความยินยอมต้องมีการแสดงออกก่อน และคงมีอยู่ตลอดเวลาที่มี การกระท ำ 8 ในกรณีชายกระทำชำเราหญิงโดยทำให้หญิงเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นบุคคลอื่นอันเป็น ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและเป็นความผิดทางแพ่งฐานละเมิดด้วย ชายจะอ้างว่าหญิงให้ความ ยินยอมไม่ได้เพราะการยินยอมของหญิงเป็นไปโดยความสำคัญผิดมิใช่สมัครใจ แต่หากให้ความยินยอม เพราะถูกจูงใจให้ยินยอม เช่น การที่หญิงยอมร่วมประเวณีกับชายโดยชายหลอกลวงว่าจะรับเลี้ยงดู และจดทะเบียนสมรส ไม่เป็นละเมิด มิใช้เป็นการหลอกลวงให้สำคัญผิดในตัวบุคคลเพียงแต่จูงใจให้ ยินยอม ความสำคัญผิดที่จะยกขึ้นอ้างว่าตนมิได้ให้ความยินยอมโดยสมัครใจนั้นจะต้องมิได้เกิดขึ้น เพราะความสำคัญผิดโดยประมาทเลินเล่อของผู้ ให้ความยินยอม กรณีจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระ ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อโจทก์ท้าให้จำเลยฟันเพื่อทดลองคาถาซึ่งตนเชื่อถือและอวดอ้างว่าตนอยู่ยงคง กระพันนั้นเป็นการที่โจทก์ได้ยอมหรือสมัครใจให้จำเลยทำต่อร่างกายตนเป็นการยอมรับผลเสียหายที่ จะเกิดขึ้นแก่ตนเองตามกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย 7 ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง. (2541). ความยินยอมในเวชปฏิบัติทางจิตเวช. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 43 (4): 368- 77. <https://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/v4347.html >สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. 8 ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง. (2541). เพิ่งอ้าง.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3