หนังสือ คำอธิบายกฎหมาย สำหรับพยาบาล
4 หนังสือกฎหมายสำหรับพยาบาล 5) รูปแบบการให้ความยินยอมนั้นจะให้โดยตรงหรือโดยปริยายหรือโดยการนิ่งก็ได้ กล่าวคือ การให้ความยินยอมจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาก็ได้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติรูปแบบ ของการให้ความยินยอมไว้ แต่การนิ่งที่จะถือเป็นการให้ความยินยอมนั้นจะต้องเป็นกรณีที่การนิ่งนั้น ตามปกติประเพณีหรือตามกฎหมายให้ถือว่าการนิ่งนั้นคือการยอมรับด้วย อย่างไรก็ตามการให้ความ ยินยอมย่อมมีขอบเขตจำกัดถ้าเป็นการกระทำนอกเหนือไปจากที่ได้ให้ความยินยอมไว้ก็จะอ้างความ ยินยอมเพื่อไม่ต้องรับผิดไม่ได้ 6) ระยะเวลาการให้ความยินยอม กล่าวคือความยินยอมนั้นต้องให้ก่อนหรือขณะกระทำ ละเมิดผู้เสียหายจะให้ความยินยอมล่วงหน้านานแค่ไหนก็ได้แต่อย่างน้อยจะต้องมีอยู่เวลากระทำและมี อยู่ตลอดการกระทำนั้นตราบใดที่ยังไม่ถอนการให้ความยินยอมถือว่าความยินยอมนั้นยังคงใช้ได้อยู่ การบอกเลิกหรือถอนการให้ความยินยอมจะทำเมื่อใดก็ได้ก่อนการละเมิดสิ้นสุดลงและการบอกเลิก การให้ความยินยอมนั้นไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต 7) ความยินยอมในการรักษาที่มอบให้นั้นการรักษาต้องเป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ยกตัวอย่างเช่น จำเลยที่ 3 มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพนม สารคามด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการของโจทก์ตามที่ได้รับรายงานทางโทรศัพท์ จากพยาบาลแทน โดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 3 จะ สอบถามจากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะฉีดยาให้แก่โจทก์เพื่อทำการรักษาก็ตาม ก็มิใช่วิสัยของบุคคลผู้ มีวิชาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทำไม่ ทั้งห้องแพทย์เวรกับห้องฉุกเฉินที่โจทก์อยู่ห่างกันเพียง 20 เมตร ไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 3 ไม่สามารถมาตรวจวินิจฉัยอาการของโจทก์ได้ด้วยตนเอง แต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อ เมื่อพยาบาลฉีดยาบริคานิลให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 3 สั่งการ หลังจากนั้นโจทก์มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอาการเช่นว่านั้นมา ก่อน อาการแพ้ยาดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับความ เสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษา หาก การรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายโจทก์ ซึ่ง เป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิด จำเลยที่ 3 ก็ต้อง รับผิดต่อโจทก์ 1.๓ การรักษาโดยไม่ต้องได้รับความยินยอม การประกอบวิชาชีพพยาบาลไม่ว่ากรณีใดโดยหลักแล้วจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย ก่อนเสมอ แต่ในบางสถานการณ์ที่จําเป็นและรีบด่วนอีกทั้งผู้ป่วยก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ความยินยอม ได้ พยาบาลจะถือปฏิบัติอย่างไร ในกรณีเช่นนี้พยาบาลสามารถกระทําการรักษาได้เลยหากเป็นที่ ประจักษ์ว่าเป็นการกระทําไปเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยดังเช่นกรณีต่อไปนี้ กรณีฉุกเฉินผู้ป่วยที่ถูกนําตัวมารับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3