วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทนำ� เมื่อ พ.ศ. 2549 องค์การสหประชาชาติได้จัดท�ำอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 (Convention on the Right of Persons with Disabilities) ซึ่งถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ ในการคุ้มครองสิทธิของคนพิการ เพื่อให้คนพิการมีความเสมอภาคเท่าเทียมกับ บุคคลทั่วไปและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการทุกรูปแบบ โดยประเทศไทย ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ท�ำให้ อนุสัญญาดังกล่าวมีผลผูกพันประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสิทธิของคนพิการที่ได้ รับรองไว้ในอนุสัญญาดังกล่าว แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติงานของหน่วยต่าง ๆ เพื่อให้คนพิการสามารถ ใช้สิทธิได้อย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 ในหลายด้าน เช่น ด้านการประกอบอาชีพ มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ก�ำหนดให้ นายจ้างหรือเจ้าของ สถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าท�ำงานตามลักษณะ ของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือ หน่วยงานของรัฐ ด้านการได้รับสิ่งอ�ำนวยความสะดวก มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีอ�ำนาจในการ ออกกฎกระทรวงก�ำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการ สาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณ์หรือสิ่งอ�ำนวยความสะดวกโดยเฉพาะแก่คนพิการ 2 2 วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ และคณะ. (2546). รายงานวิจัยเรื่องการแก้ไขกฎหมายที่กีดกันคนพิการในการ เข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม : ศึกษากรณีกฎหมาย และกฎระเบียบ ที่จ�ำกัดสิทธิคนพิการในการประกอบอาชีพ, ส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. หน้า 22. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 93

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3