วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
แม้ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับตามที่กล่าวแล้ว ข้างต้น เพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 แต่อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ประเทศได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 บทบัญญัติว่าด้วยคนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความ สามารถ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง กับคนพิการ ยังคงไม่มีการปรับปรุงแก้ไข ในบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 ของ บทบัญญัติว่าด้วยคนเสมือนไร้ความสามารถ ความสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 ของบทบัญญัติว่าด้วยคนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ ความหมายของ “คนพิการ” พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ได้ให้ค�ำนิยามค�ำว่า คนพิการเอาไว้ว่า “คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมี ข้อจ�ำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจ�ำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจ�ำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับ ความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจ�ำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและ หลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกาศก�ำหนด” 3 ประเภทของความพิการ ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการซึ่งออกโดยอาศัยอ�ำนาจตามความใน มาตรา 4 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ พ.ศ. 2550 ได้แบ่งความพิการออกเป็น 6 ประเภท 4 ดังนี้ 1. ความพิการทางการเห็น 3 ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 61 ก .วันที่ 27 กันยายน 2550. หน้า 8-9. 4 ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 77 ง. 29 พฤษภาคม 2522. หน้า 2. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 94
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3