วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2. ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก 5. ความพิการทางสติปัญญา 6. ความพิการทางการเรียนรู้ ส�ำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการก�ำหนดความพิการ ประเภทต่าง ๆ ย่อมเป็นไปตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 พันธกรณีตามของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 ปัจจุบันบุคคลในหลายประเทศทั่วโลกยังคงถูกปฏิเสธในเรื่อง ความสามารถ (legal capacity) เช่น ชนกลุ่มน้อย สตรี แต่อย่างไรก็ดี คณะอนุกรรมการว่าด้วยสิทธิของคนพิการเห็นว่า ในระบบกฎหมายต่าง ๆ ทั่วโลก คนพิการเป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกปฏิเสธในเรื่องความสามารถมากที่สุด และในบรรดาคนพิการที่ถูกปฏิเสธในเรื่องความสามารถนั้น คนพิการทางจิต และคนพิการทางสติปัญญาเป็นผู้ที่ถูกจ�ำกัดความสามารถมากที่สุด 5 อย่างไรก็ดี ปัจจุบันอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการได้รับรองเรื่องความสามารถของคนพิการ เอาไว้ในหลายข้อ โดยข้อที่ส�ำคัญ ได้แก่ ข้อ 3 และข้อ 12 ของอนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิของคนพิการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ บัญญัติไว้ ดังนี้ “ ข้อ 3 หลักการทั่วไป หลักการของอนุสัญญานี้ มีดังนี้ (เอ) การเคารพในศักดิ์ศรีที่มีมาแต่ก�ำเนิด การอยู่ได้ด้วยตนเอง รวมถึง เสรีภาพในการตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง และความเป็นอิสระของบุคคล...” ความในข้อ 3 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 มุ่งเน้น ในเรื่องความเป็นอิสระของบุคคล หรือเสรีภาพของบุคคล ซึ่งความเป็นอิสระของ บุคคล หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบง�ำของผู้อื่น ภาวะที่ ปราศจากการถูกหน่วงเหนี่ยวขัดขวาง โดยบุคคลจะมีอิสรภาพหรือเสรีภาพ ก็ต่อเมื่อบุคคลไม่ถูกบังคับให้กระท�ำการอย่างใดอย่างหนึ่งหากตนไม่ประสงค์ 5 Lewis, Oliver. (2015). Legal capacity in international human rights law Doctoral Dissertation, Leiden University. p. 41. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 95
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3