วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
จะกระท�ำ หรือไม่ถูกขัดขวางมิให้กระท�ำในสิ่งที่ตนต้องการที่จะกระท�ำ หรืออาจ กล่าวได้ว่า อิสรภาพหรือเสรีภาพ คืออ�ำนาจของบุคคลในอันที่ก�ำหนดชะตากรรม ของตนเอง (Self -determination) 6 ความเสมอภาค หรือความเท่าเทียมกัน หมายถึง การปฏิบัติต่อสิ่งที่มี สาระเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน และจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระส�ำคัญที่ แตกต่างกันให้แตกต่างกันไปตามลักษณะของเรื่องนั้น 7 สังคมในสมัยโบราณซึ่งสภาพสังคมในขณะนั้นยังไม่เจริญมากนัก จะมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างชนชั้นสูง และชนชั้นล่าง และชนชั้นล่าง ต้องพึ่งพาอาศัยชนชั้นสูงในด้านความปลอดภัยในชีวิต และปัจจัยสี่ ดังนั้น ในสังคมสมัยนั้นชนชั้นล่างจึงไม่มีอิสรภาพและมีความไม่เท่าเทียมกันอย่าง ชัดเจน เนื่องจากสิทธิต่าง ๆ มักตกอยู่กับชนชั้นสูงเท่านั้น ส่วนชนชั้นล่างต้องตก อยู่ภายใต้อาณัติของชนชั้นสูง ไม่มีความเป็นอิสระ มีสภาพไม่ต่างจากทรัพย์สิน หรือสัตว์เลี้ยงของชนชั้นสูง เช่น การมีระบบทาส ซึ่งทาสสามารถถูกซื้อขายได้ ถูกทารุณกรรมได้ เป็นต้น และสภาพสังคมในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นคล้ายกัน ทั้งในสังคมตะวันตกและตะวันออก “ ข้อ 12 การยอมรับความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย 1. รัฐภาคียืนยันว่าคนพิการมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับตามกฎหมาย ว่าเป็นบุคคล 2. ให้รัฐภาคียอมรับว่าคนพิการสามารถใช้ความสามารถทางกฎหมาย บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่นในทุกด้านของการด�ำเนินชีวิต 3. ให้รัฐภาคีจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมส�ำหรับคนพิการในการ ช่วยเหลือคนพิการ ซึ่งคนพิการอาจร้องขอเพื่อประโยชน์ในการใช้ความสามารถ ทางกฎหมาย 6 สาโรจน์ ส�ำลีรัตน์. (2543). การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไทย ศึกษาเปรียบเทียบรัฐธรรม ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 กับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง.หน้า 19-20. 7 บรรเจิด สิงคะเนติ. (2543). หลักความเสมอภาค. สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (หน้า 1-15). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา. หน้า 2. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 96
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3