วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

การจัดท�ำเอกสารที่วางแผนในเรื่องต่าง ๆ (planning documents) หากตน ตกเป็นคนไร้ความสามารถในอนาคต เอกสารที่วางแผนในเรื่องต่าง ๆ อาจระบุว่า การให้การรักษาพยาบาลเช่นใดที่ตนยอมรับหรือปฏิเสธ หรือเอกสารดังกล่าว อาจระบุตัวบุคคลให้เป็นผู้ตัดสินใจแทนตนเองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในเวลาที่ตนเองไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ส�ำหรับบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บ ทางสมอง เช่น บุคคลที่ประสบอุบัติทางรถยนต์ การช่วยเหลืออาจอยู่ในรูปของ เทคโนโลยีที่ช่วยในการสื่อสารกับบุคคลอื่น ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้าน ประสาทวิทยาท�ำให้เกิดนวัตกรรมที่ช่วยให้บุคคลสามารถสื่อสารเจตจ�ำนงและ ความประสงค์ของตนเพื่อให้บุคคลอื่นรับทราบได้ ส�ำหรับบุคคลที่พิการทาง สติปัญญา การช่วยเหลืออาจอยู่ในรูปแบบของการช่วยเหลือด้านการตัดสินใจ ซึ่งการช่วยเหลือด้านการตัดสินใจมีได้ในหลากหลายรูปแบบและหลากหลาย วิธีการ เช่น การวางแผนชีวิตล่วงหน้า (life planning) ซึ่งอาจเป็นการวางแผน ล่วงหน้าส�ำหรับบุตรผู้เยาว์ซึ่งพิการด้านสติปัญญา โดยการก�ำหนดเอาไว้ล่วงหน้า เกี่ยวกับบุคคลซึ่งจะเป็นผู้อนุบาลในอนาคต หรือก�ำหนดที่อยู่ของคนพิการ เอาไว้ล่วงหน้า ข้อ 12(4) ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการบัญญัติให้รัฐภาคี ก�ำหนดให้มีกลไกในการคุ้มครองคนพิการจากมาตรการของรัฐที่ก�ำหนดขึ้น เพื่อช่วยเหลือคนพิการในการใช้ความสามารถทางกฎหมาย โดยมาตรการ คุ้มครองคนพิการดังกล่าวมิได้มีไว้เพื่อคุ้มครองในกรณีที่มีการตัดสินใจที่ไม่ดี (bad decision) แต่มีไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ จากคนพิการ หรือป้องกันมิให้มีการใช้ความรุนแรงต่อคนพิการ และป้องกันมิให้ การละเมิดสิทธิคนพิการ 12 โดยมาตรการเกี่ยวกับการใช้ความสามารถของ คนพิการจะต้องค�ำนึงถึงหลักการเคารพสิทธิ เคารพเจตนารมณ์และความต้องการ ของคนพิการ กล่าวคือต้องมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือให้คนพิการเจตนารมณ์และ ความต้องการ หรือตีความความการแสดงเจตนารมณ์ของคนพิการ มากกว่าการ ตัดสินใจแทนคนพิการ 13 รวมทั้งต้องค�ำนึงถึงหลักแห่งความได้สัดส่วน กล่าวคือ มาตรการดังกล่าวต้องเป็นการจ�ำกัดสิทธิของคนพิการน้อยที่สุดหรือการเข้มงวด 12 Lewis, Oliver. Supra Note 5. p 43. 13 Lewis, Oliver. Supra Note 5. p 43 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 99

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3