วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

น้อยที่สุด 14 นอกจากนั้นมาตรการดังกล่าวจะต้องมีการทบทวนเป็นระยะโดย องค์กรที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลางหรือองค์กรตุลาการ อย่างไรตาม ในประเด็นการคุ้มครองคนพิการจากมาตรการของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความสามารถของคนพิการนั้น มีความเห็นที่แตกต่างกัน 2 ความเห็น กล่าวคือ ความเห็นแรก เห็นว่า ข้อ 12 (4) ยอมรับโดย ปริยายว่ายอมให้รัฐมีระบบการตัดสินใจแทนคนพิการได้ (substituted decision-making) ความเห็นที่สอง เห็นว่ า กลไกในการคุ้มครอง ตามข้อ 12 (4) ใช้กับระบบการช่วยเหลือในการตัดสินใจเท่านั้น (supported decision-making Systems) มีข้อสังเกตว่า หากยอมรับเฉพาะระบบการช่วยเหลือในการตัดสินใจ เท่านั้น โดยปฏิเสธระบบการตัดสินใจแทนโดยสิ้นเชิง อาจมีปัญหาว่า ในกรณี ที่คนพิการที่ไม่สามารถสื่อสารหรือไม่สามารถแสดงเจตนาได้ หรือไม่มีบุคคลใด เข้าใจการสื่อสารหรือการแสดงเจตนาของบุคคลนั้นได้ หรือผู้ป่วยที่มีอาการ วิกฤต (coma) ไม่มีสติสัมปชัญญะและมิได้ท�ำหนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต (advance directive document) เอาไว้ จะน�ำระบบช่วยเหลือในการตัดสินใจมาใช้กับบุคคลดังกล่าวได้อย่างไร 15 ข้อ 12 (5) อนุสัญญาได้รับรองว่าคนพิการมีสิทธิเท่าเทียมกับบุคคลอื่น ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือการรับมรดก การควบคุมเรื่องการเงินของตนเอง และมีความเท่าเทียมกับบุคคลอื่นในการกู้ยืมเงินจากธนาคาร การจ�ำนอง และ สินเชื่อในรูปแบบอื่น ๆ จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ความในข้อ 12 ของอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 รับรองสิทธิของคนพิการว่ามีความเสมอภาคเท่าเทียม กับบุคคลอื่น โดยเฉพาะความเสมอความภาคในเรื่องการใช้ความสามารถทาง กฎหมาย นอกจากนั้นในกรณีที่คนพิการร้องขอ รัฐภาคีมีหน้าที่ที่จะต้องให้ ความช่วยเหลือคนพิการเพื่อให้คนพิการสามารถใช้ความสามารถของตนได้ ทั้งนี้ เพื่อให้คนพิการใช้ความสามารถทางกฎหมายของตนได้อย่างเท่าเทียมกับบุคคลอื่น ได้อย่างแท้จริง นอกจากนั้นในกรณีที่รัฐภาคีมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ 14 Dinerstein, Robert D. Supra Note 10. P 9. 15 Lewis, Oliver. Supra Note 5. p 44. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 100

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3