วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ความสามารถของคนพิการ ความในข้อ 12 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 ยังก�ำหนดให้รัฐภาคีจัดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้ คนพิการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้นมาตรการเกี่ยวกับการใช้ความ สามารถของคนพิการจะต้องเคารพสิทธิของคนพิการ รวมทั้งเคารพเจตนารมณ์ และความประสงค์ของคนพิการ และกลไกดังกล่าวจะต้องได้สัดส่วนและเหมาะสม ข้อเท็จจริงของแต่ละบุคคล โดยการใช้มาตรการดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลาที่สั้น ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และต้องมีการทบทวนความจ�ำเป็นของมาตรการเป็นระยะ โดยองค์กรที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง จากความตามข้อ 3 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 อาจกล่าวได้ว่า หลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการมุ่งเน้นให้คนพิการ มีความเป็นอิสระ หรือมีเสรีภาพ กล่าวคือ คนพิการจะต้องไม่อยู่ภายใต้การครอบง�ำ ของผู้อื่น โดยคนพิการจะต้องไม่ถูกบังคับให้กระท�ำการอย่างใดอย่างหนึ่งหากตน ไม่ประสงค์จะกระท�ำ หรือไม่ถูกขัดขวางมิให้กระท�ำในสิ่งที่ตนต้องการที่จะกระท�ำ หรืออาจกล่าวได้ว่า อิสรภาพหรือเสรีภาพของคนพิการ คือ คนพิการจะต้อง มีสิทธิในอันที่จะก�ำหนดชะตากรรมของตนเอง (Self-determination) นอกจากนั้นตามข้อ 12 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 นั้นมุ่งรับรองให้คนพิการมีความสามารถเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป โดยความ สามารถในที่นี้หมายความรวมทั้งความสามารถในการมีสิทธิ และความสามารถ ในการใช้สิทธิ โดยเมื่อพิจารณาตามข้อ 12 (2) (3) และ (4) ของอนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 จะเห็นไว้ว่าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 มุ่งเน้นการน�ำระบบการช่วยเหลือในการตัดสินใจ (supported decision-making Systems) มาใช้แทนระบบการตัดสินใจแทนคนพิการ (substituted decision-making) เพราะระบบการตัดสินใจแทนคนพิการ ท�ำให้คนพิการถูกจ�ำกัดความสามารถในการใช้สิทธิในการท�ำนิติกรรมต่าง ๆ หากน�ำระบบการตัดสินใจแทนคนพิการมาใช้โดยไม่จ�ำเป็นอาจท�ำให้คนพิการ มีสิทธิที่ไม่เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป ซึ่งขัดต่อความในข้อ 12 (2) ของอนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 และระบบการตัดสินใจแทนคนพิการย่อมเป็น มาตรการที่ไม่เคารพเจตนารมณ์และความประสงค์ของคนพิการ ซึ่งขัดต่อ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 101

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3