วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ความในข้อ 12 (4) ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 ทั้งยังขัด ต่อหลักเสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตนเอง (Self - determination) และ หลักความเป็นอิสระของบุคคล ตามข้อ 3 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 แต่ในกรณีที่มีความจ�ำเป็น เช่น คนพิการไม่สามารถตัดสินใจได้ กล่าวคือ คนพิการที่ไม่รู้สาระของเรื่องที่ตนตัดสินใจ หรือไม่รู้ถึงผลที่ตามมา จากการตัดสินใจ เช่นคนวิกลจริต คนที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ หรือคนพิการที่ไม่ สามารถสื่อสารเจตนารมณ์และความประสงค์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ กรณีเช่นนี้อาจน�ำ ระบบการตัดสินใจแทนคนพิการมาใช้ได้ คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quai -Incompetent Person) หลักเกณฑ์ในการพิจารณาของศาลในการสั่งให้บุคคลกลายเป็นคน เสมือนไร้ความสามารถนั้น ประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา 32 ได้วาง หลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้ “มาตรา 32 บุคคลใดมีกายพิการ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือ ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใด ท�ำนองเดียวกันนั้นจนไม่สามารถจะจัดท�ำการงานโดยตนเองได้หรือจัดกิจการไป ในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เมื่อบุคคลตามที่ ระบุไว้ในมาตรา 28 ร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือน ไร้ความสามารถก็ได้ บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความพิทักษ์ การแต่งตั้งผู้พิทักษ์ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายนี้ ให้น�ำบทบัญญัติว่าด้วยการสิ้นสุดของความเป็นผู้ปกครองใน บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของการเป็นผู้พิทักษ์ โดยอนุโลม ค�ำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา” จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าบุคคลที่อาจถูกศาลสั่งให้ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้นอาจแยกพิจารณาได้ 2 ประการ ดังนี้ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 102
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3