วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

มีสิทธิที่จะไม่ให้ความยินยอมได้ กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นมาตรการที่เปิดโอกาสให้ มีการไม่เคารพเจตนารมณ์และความประสงค์ของคนพิการ นอกจากนั้นการที่ต้อง อยู่ภายใต้การดูแลของผู้พิทักษ์ ยังอาจขัดต่อหลักเสรีภาพในการตัดสินใจเลือก ด้วยตนเอง และหลักความเป็นอิสระของบุคคลตามข้อ 3 (เอ) ของอนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 อีกด้วย นอกจากนั้นความในมาตรา 32 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มุ่งเน้นการตัดความสามารถในการใช้สิทธิของ คนพิการ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความในข้อ 12 (3) ที่มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือ คนพิการให้คนพิการใช้ความสามารถทางกฎหมาย ดังนั้น ควรแก้ไขบทบัญญัติ มาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยต้องเคารพเจตนารมณ์ และความประสงค์ของคนพิการ และมุ่งเน้นการช่วยเหลือให้คนพิการใช้ความ สามารถทางกฎหมาย แทนที่จะมุ่งเน้นตัดความสามารถในการใช้สิทธิของคน พิการ โดยการปรับปรุงแก้ไขอาจแก้ไขในประเด็นดังนี้ เช่น ประเด็นที่ 1 กรณีบุคคลที่มีการพิการจนไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ หากคนพิการยังสามารถแสดงเจตนารมณ์และความประสงค์ ของตนเองได้ หรือหากยังมีสติสัมปชัญญะและสามารถตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้เหมือนคนทั่วไป กรณีนี้จะต้องไม่ตัดความสามารถของคนพิการ แต่หาก คนพิการต้องการความช่วยเหลือในการใช้ความสามารถทางกฎหมาย อาจให้ มีการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อจัดการงานท�ำนิติกรรมต่าง ๆ แทนคนพิการ ประเด็นที่ 2 คนที่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หากไม่สามารถตัดสินใจ เรื่องราวต่าง ๆ ได้ เนื่องจากไม่รู้สาระของเรื่องนั้น ๆ และไม่รู้ผลที่ตามมาจาก การตัดสินใจของตน กรณีเช่นนี้อาจมีความจ�ำเป็นต้องตัดความสามารถของ คนพิการเท่าที่จ�ำเป็น บทสรุป บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 32 ว่าด้วย เรื่องคนเสมือนไร้ความสามารถ ยังมีเนื้อหาบางประการที่อาจจะยังไม่สอดคล้อง กับหลักการที่ก�ำหนดไว้ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 ซึ่งควร ต้องมีการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 และเพื่อคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้คนพิการมีสิทธิเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 106

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3