วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

1.3 บทบาทท�ำหน้าที่ของสตรีสมัยโบราณ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของสตรีสมัยโบราณ ที่มีฐานะเป็นภรรยาว่าจะต้องซื่อสัตย์ต่อสามี ไม่คบชู้สู่ชาย และท�ำหน้าที่ของ ภรรยาที่ดี มีการก�ำหนดบทลงโทษสตรีที่คบชู้ โดยเชื่อมโยงกับกฎหมายและคติ ความเชื่อของคนในสังคม ดังเรื่องสุภาษิตสอนหญิงค�ำกาพย์กล่าวว่าหญิงที่มีสามี แล้ว แต่กลับคบชู้สามารถให้กฎหมายลงโทษได้ เช่น เฆี่ยนตี หรือประจาน อย่าสอดลอดท�ำชู้ ชายนี่นู่ท�ำเฉิดฉาย ผัวรู้จักวุ่นวาย จับส่งนายจะติดคา เขาเฆี่ยนและทุบตี ร้องเสียงมี่ทั้งสองรา เฆี่ยนถามกลางศาลา ขายหน้าตาอย่าควรท�ำ 8 ใจความข้างต้นสอดคล้องกับกฎหมายสมัยโบราณที่กล่าวว่า “มาตรา หนึ่ง สามีภิริยาอยู่ด้วยกันภิริยามีความผิดสามีจะปราบปรามตีโบยหญิง หญิงจะโทษแก่สามีนั้นมิได้ ถ้าภิริยาด่าว่าหยาบช้าแก่สามี ให้ภิริยาเอาข้าวตอก ดอกไม้ขอโทษแก่สามีจึงควร” 9 2. การปฏิบัติตนของประชาชนในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ส่วนหนึ่งแต่งหลัง พ.ศ. 2475 เป็นต้นไป ซึ่ง เป็นช่วงที่สังคมไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นประชาธิปไตย มีการประกาศใช้กฎหมายราชธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างขวาง ผู้แต่งซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นจึงน�ำข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย มาแทรกไว้ในเนื้อหาของเรื่องด้วย เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมคนในสังคม ทางหนึ่ง โดยผู้แต่งเน้นปลูกฝังประชาชนโดยทั่วไปมากกว่าการสอนกษัตริย์ หรือขุนนางเหมือนสมัยโบราณ ค�ำสอนที่ปรากฏอย่างสม�่ำเสมอ เช่น ไม่ควร ท�ำผิดกฎหมายให้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้ป้องกันประเทศ เข้ารับ การศึกษาในการศึกษาภาคบังคับ รับราชการทหาร เคารพและไม่ละเมิดสิทธิ 8 เทพ บุณยประสาท [ปริวรรต], สุภาษิตสอนหญิง, (พระนคร : โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ ส�ำเพ็ง, 2500), น.102. 9 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้ว การพิมพ์, 2529), น. 60. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 9

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3