วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ในการทหารชาญไชย ต้องเป็นทหารตามสมัย ประชาธิปไตย หลักไชยของรัฐบุรี ห้าเกี่ยวกับการเปล่งพะจี มอบหมายหน้าที่ โดยมีเสียงเลือกผู้แทน ในการเลือกตั้งตามแผน ประชาธิปฯ แปลน ให้แทนเข้าร่วมประชุม ความเสมอภาครัดกุม ทุกคนแก่หนุ่ม ประชุมเพื่อบอกออกเสียง 13 กลวิธีการโน้มน้าวให้ปฏิบัติตามกฎหมายจากวรรณกรรมท้องถิ่น ภาคใต้ที่แต่งหลัง พ.ศ. 2475 กลวิธีคือเทคนิคที่ผู้แต่งเลือกน�ำมาใช้ในการสร้างสรรค์วรรณกรรม เพื่อให้บรรลุผลตามที่ตนต้องการ ซึ่งช่วยให้วรรณกรรมเรื่องนั้น ๆ มีคุณค่า น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ผู้แต่งที่รู้จักเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมจะสามารถโน้มน้าวให้ ผู้อ่านคล้อยตามได้ ทั้งนี้ ผู้ศึกษาพบว่า วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่แต่งหลัง พ.ศ. 2475 มีการใช้กลวิธีต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อผู้จูงใจหรือโน้มน้าวให้ผู้อ่าน ซึ่งเป็นคนโดยทั่วไปหรือเป็นคนกลุ่มใหญ่ในสังคมคล้อยตาม และเข้าใจเจตนา ของผู้แต่งอย่างลึกซึ้ง ต่างจากวรรณกรรมที่แต่งก่อนหน้านี้ซึ่งมุ่งสื่อสารไปที่ กลุ่มชนชั้นสูงหรือชนชั้นขุนนาง ไม่เน้นสอนคนธรรมดาสามัญ ผู้ศึกษาจึงมุ่ง ยกตัวอย่างการใช้กลวิธีของผู้แต่งวรรณกรรมกลุ่มนี้เป็นส�ำคัญ ดังนี้ 1. การบอกผลที่จะได้รับจากการท�ำผิดกฎหมาย การบอกผลที่จะได้รับจากการกระท�ำผิดกฎหมายปรากฏโดยทั่วไป ดังนี้ 1.1 ต้องคอยหลบซ่อนผู้คน ผู้แต่งกล่าวว่าผู้ที่ท�ำผิดกฎหมายจะได้รับแต่ความทุกข์ทรมานทั้งกายใจ จะต้องคอยหลบซ่อนตัวจากเจ้าหน้าที่ต�ำรวจ ไม่ได้รับความสุขสบายในชีวิต มีชีวิตเหมือนคนป่า ดังนี้ 13 กลิ่น ศรนรินทร์, หลายเรื่องหลากรส, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2481), น. 6-9. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 11
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3