วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
กฎหมาย ช่วยรัฐบริหารบ้านเมือง ดังที่ว่า “ราษฎร์กับรัฐผลัดกันช่วยอ�ำนวยชัย ก�ำจัดภัยใหญ่น้อยคอยแผ้วพาล” 32 บทสรุป การศึกษาวิถีแห่งการปฏิบัติตนของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับ กฎหมายจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้สะท้อนให้เห็นว่ากฎหมายเข้าไป มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนและแทรกซึมแม้กระทั่งในวรรณกรรมที่เป็นผลงาน การสร้างสรรค์ของคนในสังคม การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าวรรณกรรม มีความสัมพันธ์กับสังคม แม้กระทั่งสังคมท้องถิ่น มีการน�ำกฎหมายในสังคมไทย มาน�ำเสนอในวรรณกรรมอย่างชัดเจนโดยเฉพาะ การสอดแทรกในวรรณกรรม ค�ำสอนที่แต่งหลัง พ.ศ. 2475 ปรากฏมากเป็นพิเศษทั้งนี้ การที่วรรณกรรมภาคใต้ ประเภทค�ำสอนมุ่งโน้มน้าวให้คนปฏิบัติตามกฎหมายมากกว่าวรรณกรรม ประเภทอื่น ๆ เกิดจากผู้แต่งวรรณกรรมกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์ส�ำคัญในการแต่ง คือ เพื่อแนะน�ำสั่งสอนผู้อ่านโดยตรง การกระตุ้นให้คนปฏิบัติตามกฎหมาย ก็เพื่อให้คนในสังคมน�ำไปเป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิตต่อไปโดยผู้แต่งใช้กลวิธี ต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวให้ผู้อ่านคล้อยตาม ทั้งการอ้างบทลงโทษตามกฎหมายโดยตรง ส�ำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และการโน้มน้าวให้เห็นผลของการกระท�ำ ตามความคิดความเชื่อในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ การปรากฏบทบัญญัติทางกฎหมาย โดยมากหลัง พ.ศ. 2475 อาจสะท้อนให้เห็นว่าภาคใต้ประสบปัญหาหลากหลาย เช่น ปัญหาการลักขโมย ปัญหายาเสพติด และปัญหาความเสื่อมถอย ด้านคุณธรรมของคน ท�ำให้เห็นว่า แม้ว่าวรรณกรรมเป็นงานเขียนที่เน้นความ เพลิดเพลินเป็นส�ำคัญ แต่ก็แสดงบทบาทส�ำคัญในการอบรมสั่งสอนคนในสังคม หรือช่วยท�ำหน้าที่ในการจัดระเบียบสังคมด้วย 32 ปรีชา เทพรักษ์, อ้างแล้ว, น. 21. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 17
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3