วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

2. คดีที่เกี่ยวด้วยสถานะและความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัว หรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ ซึ่งพิพาทกันตาม ป.พ.พ. ในบรรพ 1 มาตรา 21, 28, 32, 43 และ 44 และในบรรพ 6 มาตรา 1610, 1611,1687 และ 1692 2.1 คดีขอทำ�นิติกรรมแทนผู้เยาว์ 14 2.2 คดีที่ทำ�สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ใน ศาลธรรมดาจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำ�นาจ 15 2.3 คดีขอตั้งผู้อนุบาลซึ่งบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 28 16 คดีที่ผู้อนุบาลฟ้องขับไล่บุคคลภายนอกออกจากที่ดินของผู้ไร้ความสามารถ ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสถานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่อยู่ในอำ�นาจของศาลเยาวชน และครอบครัว (ยช.9/2555) 2.4 คดีที่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันร้องขอให้มีคำ�สั่งว่าเป็นคนเสมือน ไร้ความสามารถและตั้งตนเป็นผู้พิทักษ์ 17 คดีที่ผู้พิทักษ์ร้องขออนุญาตขายอสังหาริมทรัพย์ของคนเ สมือน ไร้ความสามารถที่ตนเป็นผู้พิทักษ์ที่ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/15 โดย อนุโลม ถือว่าเป็นคดีครอบครัว (ยช.12/2538) คดีที่มิใช่เป็นคดีครอบครัว 1. คดีชายหรือหญิงมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ฟ้องขอแบ่ง ทรัพย์สินระหว่างกัน จึงมิได้มีความสัมพันธ์กันในทางกฎหมายครอบครัว ไม่เป็น คดีครอบครัว 18 2. คดีที่บุคคลภายนอกฟ้องว่าได้มาซึ่งที่ดินพิพาท แม้จำ�เลยให้การต่อสู้ เกี่ยวกับทรัพย์สินพิพาทว่าเป็นผู้เยาว์ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะต้องนำ� ป.พ.พ. บรรพ 5 มาใช้ บังคับ จึงไม่เป็นคดีครอบครัว 19 14 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.32/2542 15 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.ฎ.3376/2516 16 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.4/2542, ฎ.4513/2542 17 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.27/2540 18 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.15/2543/ ยช.3/2551, ยช.3/2555 19 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.32/2555 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3