วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
คดีที่โจทก์ฟ้องจำ�เลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมก็ดี (ยช.23/2541) หรือคดีฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแล้วมีประเด็นพิพาทว่าทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัวหรือ สินส่วนตัวของบุคคลอื่นที่ตกได้มายังโจทก์หรือจำ�เลยหรือไม่ (ยช.13/2543) ไม่ถือ เป็นคดีครอบครัว 3. คดีร้องขอให้เป็นบุคคลสาบสูญตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 ถึงมาตรา 64 (ยช.7/2543) หรือขอให้ตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ยช.1/2543) ถือว่าไม่ใช่ คดีครอบครัว 4. คดีละเมิดที่ผู้เยาว์กระทำ�ละเมิดซึ่งบิดามารดาต้องร่วมรับผิดในผลแห่ง ละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 (ยช.4/2535/ยช.3/2538) หรือคดีละเมิด แม้มีกรณี ที่ศาลต้องมีคำ�สั่งให้แก้ไขในเรื่องข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถในการดำ�เนิน คดีก็ดี (ฎ.7195/2539) หรือคดีร้องขอให้เพิกถอนการโอนในคดีล้มละลายซึ่งผู้เยาว์ เป็นผู้รับโอนก็ดี (ฎ.9269/2539) เหล่านี้ไม่ใช่คดีครอบครัวที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาล หรือกระทำ�การใดๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวซึ่งจะต้องบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่เป็นคดีครอบครัวตามมาตรา 10(3) 5. คดีฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตามหลักทั่วไป 20 6. คดีฟ้องขับไล่เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ไม่เป็นคดีครอบครัว 21 7. คดีที่ผู้เยาว์ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีครอบครัว 22 8. การที่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. ยื่นฟ้องจำ�เลยซึ่ง เคยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. แต่หย่าขาดจากกันแล้ว โดยจำ�เลยฝ่าฝืน ใช้นามสกุลของ ส. ทำ�ให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นกรณีโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ.2505 มาตรา 12, มาตรา 13 และ ป.พ.พ. มาตรา 18 จึงมิใช่คดีครอบครัวตามมาตรา 10(3) 23 20 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.16/2544 21 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.6/2541 22 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.10/2537 23 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.2/2545 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3