วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

การตกลงกันได้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็นับว่ามีประโยชน์มากพอ คู่ความ ทุกฝ่ายได้เข้าใจมุมมองและเหตุผลของอีกฝ่าย การยุติความขัดแย้งบางประเด็นไปได้ หรือทำ�ให้ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจ ไม่ติดใจเรียกร้อง ควรทำ�บันทึกเป็นหลักฐานไว้ ฉะนั้น การหากรอบข้อตกลงและการเขียนข้อตกลงร่วมกัน และการตรวจสอบว่าตรงกับความ พึงพอใจของทั้งสองฝ่ายหรือไม่จึงเป็นข้อสำ�คัญ ฉากจบจะจบด้วยการแสดงความยินดี หรือการสร้างสัมพันธภาพต่อกัน เช่น การไหว้พระร่วมกัน การไหว้ผู้ใหญ่ที่ทั้งสองฝ่าย ให้ความเคารพด้วยกันก็สามารถทำ�ได้ จากการที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการพิจารณาคดีครอบครัวก็ดี การประนีประนอมคดีครอบครัวก็ดี มิใช่การเยียวยาเรื่องค่าเสียหายในเรื่องของ ทรัพย์สินเงินทองเท่านั้น แต่คดีครอบครัวลงลึกไปถึงจิตวิญญาณของแต่ละฝ่าย ความคับข้องใจ ความน้อยเนื้อต่ำ�ใจ ความสลดหดหู่ อารมณ์ความรู้สึก ไม่ว่ารัก โกรธ เกลียด จึงต้องบัญญัติรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างไปจากการพิจารณาพิพากษาหรือ ประนีประนอมต่างจากคดีแพ่งอื่น ๆ โดยเฉพาะความรับผิดชอบในอนาคตที่ส่งผล ต่อเด็กหรือเยาวชน เพราะมิฉะนั้นอาจจะมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก แนวคิดของ บุตรเยาว์ในอนาคตได้ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3