วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ดังนั้นความสามารถในการจัดหารายได้เพื่อเป็นงบประมาณใช้จ่ายในการดำ�เนินงาน ต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงเป็นเรื่องสำ�คัญอย่างยิ่งที่มีผลกระทบ ต่อการปกครองและดำ�เนินการแก้ไขปัญหาและสนองตอบความต้องการของประชาชน ความเป็นอิสระในการจัดเก็บรายได้และการบริหารรายได้ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด การที่ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการจัดเก็บรายได้และการบริหารรายได้เอง ถือเป็นมิติใหม่ที่ดีต่อการพัฒนาประเทศตามรูปแบบสากลในเรื่องการกระจายอำ�นาจ การคลัง เพราะหากราชการส่วนกลางกระจายอำ�นาจทางปกครองแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ให้ความเป็นอิสระด้านการคลังแก่ท้องถิ่นอย่างเพียงพอ ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็น การกระจายอำ�นาจแก่ท้องถิ่นที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง วิธีการกำ�หนดที่มาของรายได้ของท้องถิ่น อาจทำ�ได้ 2 วิธี คือ วิธีแรกกำ�หนด จากรายได้โดยตรง โดยยึดหลักการที่ชัดเจนในเรื่องภารกิจหน้าที่ และวิธีที่สอง กำ�หนดจากการแบ่งรายได้ คือรัฐบาลกับท้องถิ่นแบ่งภาษีที่ไม่ว่าใครจะเป็นผู้จัดเก็บ ร่วมกัน ภาษีที่อยู่ในแนวทางนี้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษียานยนต์ ล้อเลื่อน ภาษีเหล่านี้รัฐบาลเป็นผู้เก็บให้แล้วท้องถิ่นไปขอแบ่ง ไม่ว่าจะขอแบ่งทั้งหมด หรือบางส่วน แต่ที่สำ�คัญคือแบ่งแล้วต้องสะท้อนที่มาของรายได้และฐานของภาษีนั้น ๆ การดำ�เนินการบริหารจัดการรายได้ของท้องถิ่นจะต้องคำ�นึงถึงคุณสมบัติ ในการกำ�หนดรายได้ดังต่อไปนี้ 1. ความแน่นอนและความสม่ำ�เสมอของรายได้ 2. ต้นทุนในการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นต้องไม่สูงเกินไป 3. ต้องเป็นรายได้ที่ท้องถิ่น สามารถกำ�หนดอัตราการจัดเก็บการประเมินภาษี ฐานภาษี รูปแบบการจัดเก็บโดยท้องถิ่น และ 4. ต้องเป็นภาษีที่ประชาชนในท้องถิ่นยอมรับ ความเป็นอิสระในการจัดเก็บรายได้และการบริหารรายได้มีเพียงใด ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักการปกครองท้องถิ่นและหลักการกระจายอำ�นาจแก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ที่ไม่เพียงแต่การกระจายอำ�นาจทางการปกครองเท่านั้น ต้องรวมถึง การพิจารณาถึงขอบเขตของการกระจายอำ�นาจทางการคลังแก่ท้องถิ่นด้วย เนื่องจาก เหตุผลสำ�คัญสองประการคือ ประการแรก การที่รัฐบาลท้องถิ่นนั้นจะสามารถปฏิบัติ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3