วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน้าที่ของตนได้มากน้อยแค่ไหน ประการที่สองข้อบ่งชี้ถึงความเป็นอิสระในการตัดสิน ใจเลือกผลิตบริการสาธารณะประเภทต่างๆ ในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยรัฐบาลหรือประชาชน ในท้องถิ่น แนวคิดเกี่ยวกับภาษีอากรท้องถิ่น ภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับประชาชนที่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ใกล้หรือไกลความเจริญ ที่มาของรายได้ท้องถิ่นจากภาษีอากรมี 2 แหล่ง คือ ท้องถิ่นจัดเก็บเอง เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำ�รุงท้องที่ ภาษีป้าย เป็นต้น และ ส่วนกลางจัดเก็บให้ คือภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุรา ภาษีสรรพสามิต ตลอดจนภาษีและ ค่าธรรมเนียมรถยนต์หรือล้อเลื่อน เนื่องจากภาษีอากรท้องถิ่นเป็นเรื่องที่กฎหมายกำ�หนดให้ต้องเป็นหน้าที่ของ ประชาชนทุกคนในลักษณะบังคับ จึงจำ�เป็นต้องมีหลักการเก็บภาษีที่ดี เพื่อให้สามารถ บังคับจัดเก็บได้ และผู้จ่ายเต็มใจที่จะจ่ายตามหน้าที่ของตน ตลอดจนมีความเป็น ธรรมในสังคม ซึ่งหลักการเก็บภาษีโดยทั่วไปมักยึดถือตามแนวคิดของอดัม สมิธ (Adam Smith) หรือที่เรียกว่า Adam Smith’s Canons สรุปดังนี้ ต้องให้เกิดความเป็น ธรรมแก่ผู้เสียภาษี โดยมีหลักว่าควรจ่ายตามกำ�ลังความสามารถในการชำ�ระภาษี (Ability to Pay) ของแต่ละคน ต้องกำ�หนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บให้รัดกุม และแน่นอน ต้องอำ�นวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีมากที่สุด ควรใช้วิธีการที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องถือหลักจัดเก็บในอัตราต่ำ�แต่เก็บได้มากและทั่วถึง เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญทุกฉบับและหลักการตรากฎหมาย เกี่ยวกับภาษีอากรของไทย หลักการจัดเก็บภาษีมีดังนี้ มีความเป็นธรรม (Equity) มีความแน่นอนและชัดเจน (Certainty) มีความสะดวก (Simplicity) มีประสิทธิภาพ (Economy) มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ (Economic Neutrality) อำ�นวยรายได้ (Productivity) จัดเก็บในอัตราก้าวหน้าและมีความยืดหยุ่น (Flexibility) วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3