วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
อำ�นาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากสถานการค้าน้ำ�มันของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด การจัดเก็บภาษีจากสถานการค้าน้ำ�มันขององค์การบริหารส่วนจังหวัด สงขลา ปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ.2546 มาตรา 64 คือ มาตรา 64 องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำ�นาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำ�รุง องค์การบริหารส่วนจังหวัดจากการค้าในเขตจังหวัด ต่อไปนี้ (1) น้ำ�มันเบนซินและน้ำ�มันที่คล้ายกัน น้ำ�มันดีเซลและน้ำ�มันที่คล้ายกัน หรือก๊าซปิโตรเลียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำ�หรับรถยนต์ โดยจัดเก็บเพิ่มขึ้นได้ไม่เกิน ลิตรละสิบสตางค์สำ�หรับน้ำ�มัน และกิโลกรัมละไม่เกินสิบสตางค์สำ�หรับก๊าซปิโตรเลียม (2) ยาสูบ โดยจัดเก็บเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินมวนละสิบสตางค์ ราคาจำ�หน่ายที่เพิ่มขึ้นตามวรรคหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย ว่าด้วยการกำ�หนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด จากบทบัญญัติข้างต้นมีผลให้ภาษีจากสถานการค้าน้ำ�มันถือเป็นภาษีท้องถิ่น ประเภทหนึ่งที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีหน้าที่จัดเก็บจากผู้ค้าน้ำ�มันในเขต จังหวัด โดยภาษีที่จัดเก็บอาศัยการจำ�แนกฐานภาษี คือเป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภค (Taxes on Commodities) ของประชาชนในเขตจังหวัดนั้น ในทางปฏิบัติ การจัดเก็บภาษีจากสถานการค้าน้ำ�มัน องค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องออกเป็นกฎหมายท้องถิ่น คือ ข้อบัญญัติภาษีบำ�รุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากสถานการค้าน้ำ�มัน จึงจะสามารถจัดเก็บภาษีน้ำ�มันจากสถานการค้าน้ำ�มัน ซึ่งโดยข้อบัญญัติดังกล่าวได้มอบให้กรมสรรพสามิตเป็นผู้จัดเก็บแทน โดยอาศัยอำ�นาจ ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 มาตรา 71 วรรคหนึ่ง มีผลให้กรมสรรพสามิตเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด ตามผลของกฎหมาย วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3