วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ในการประเมินเรียกเก็บภาษีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากผู้ค้าปลีก เป็นอำ�นาจของพนักงาน เจ้าหน้าที่ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำ�ให้การจัดเก็บภาษีโดยเจ้าพนักงาน สรรพสามิตไม่ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมด 6.4 การจัดเก็บภาษีบำ�รุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากสถานค้าปลีกน้ำ�มัน ปัญหาอุปสรรคต่อการใช้บังคับกฎหมายมีดังนี้ 1) โครงสร้างภาษีที่มีอัตราภาษีแบบ เพดาน ทำ�ให้เกิดการใช้ดุลยพินิจในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง และไม่มี การกำ�หนดอัตราขั้นต่ำ�เพื่อเป็นบรรทัดฐานแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำ�ให้มี เรื่องของผลประโยชน์และการเมืองทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นเข้ามา เกี่ยวข้องได้ 2) ขาดความเป็นระบบของบทบัญญัติกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกรมสรรพสามิต ซึ่งเป็นผู้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำ�เนินการจัดเก็บ และองค์การบริหารส่วนจังหวัด เองมีความยุ่งยากในการอ้างอิง ประกอบกับจุดอ่อนในเนื้อหาของบทบัญญัติกฎหมาย ทำ�ให้เกิดช่องว่างในการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีได้ง่าย 3) พื้นที่ซ้ำ�ซ้อน ที่เกิดขึ้นระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำ�บล ซึ่งควรได้มีการกำ�หนด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งเดียวเป็นผู้จัดเก็บภาษีประเภทหนึ่งๆ เพื่อทำ�ให้ เกิดความชัดเจนในเรื่องการจัดระบบภาษีท้องถิ่น และ 4) ความคาบเกี่ยวของภาษี จากสถานการค้าปลีกน้ำ�มัน กับภาษีประเภทอื่น ๆ ซึ่งเป็นการก่อให้เกิดความสับสน ในการเสียภาษีและการหลีกเลี่ยงภาษี 6.5 โครงการส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการจัดเก็บภาษีน้ำ�มันของสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดเข้าร่วม 4 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น และองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งทั้ง 4 แห่งได้มีการแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติที่ใช้ไปใน แนวทางเดียวกัน กล่าวคือจากข้อบัญญัติที่เดิมมีหลักการสำ�คัญกรมสรรพสามิต จัดเก็บให้ เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บเอง อีกทั้งแก้ไขวิธีการเรียกเก็บและ ยื่นชำ�ระภาษี ตลอดจนอำ�นาจเปรียบเทียบคดี ให้เอื้อต่อการดำ�เนินการจัดเก็บภาษีของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเอง มีผลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ สามารถจัดเก็บภาษีน้ำ�มันได้เพิ่มขึ้น และจากการรวบรวมงานวิจัยที่ได้มีการศึกษาในเรื่องการจัดเก็บภาษีน้ำ�มัน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พอสรุปสภาพปัญหาที่สำ�คัญได้ 4 ประการ ได้แก่ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3