วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ปัญหาด้านผู้มีหน้าที่เสียภาษีน้ำ�มันและภาษียาสูบ สาเหตุหลักที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษียังไม่ยอมรับและให้ความร่วมมือในการเสีย ภาษีเนื่องจากขาดความเข้าใจในหลักการจัดเก็บภาษี ต้องรับภาระในเรื่องการจัด ทำ�เอกสาร ไม่ได้รับความสะดวกในการชำ�ระภาษี และที่สำ�คัญอีกประการหนึ่งคือ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขาดการติดตามตรวจสอบและลงโทษผู้หลีกเลี่ยงภาษีอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ทำ�ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจำ�นวนมากขาดความเกรงกลัวและไม่ประสงค์ เข้ามาอยู่ในระบบ กรณีเช่นนี้ยิ่งทำ�ให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้มีหน้าที่เสียภาษี ที่ยอมรับและให้ความร่วมมือในการเสียภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วน ข้อเสนอแนะ ภาษีน้ำ�มัน เป็นภาษีที่กฎหมายกำ�หนดให้เป็นรายได้ของท้องถิ่นประเภท ภาษีท้องถิ่นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บเอง และในการจัดเก็บต้องตราเป็น ข้อบัญญัติ โดยอาศัยอำ�นาจตามมาตรา 64(1) แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546 และพระราชบัญญัติกำ�หนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำ�นาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ซึ่งมีผลให้องค์การ บริหารส่วนจังหวัดสามารถเรียกเก็บภาษีน้ำ�มันจากการค้าในเขตจังหวัด แม้ว่าผู้ค้า มีสถานการค้าอาศัยอยู่ในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นก็ตาม ไม่ถือเป็น การซ้ำ�ซ้อนแต่อย่างใด ดังคำ�พิพากษาศาลปกครองสูงสุด แต่การออกข้อบัญญัติ จัดเก็บภาษีบำ�รุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพิ่มขึ้นได้ สำ�หรับสิ่งใดและในอัตราใดนั้น ต้องพิจารณาจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 ด้วย ที่ผ่านมาจากการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหลายแห่งได้มีการออก ข้อบัญญัติจัดเก็บภาษีน้ำ�มันและมีการจัดเก็บภาษีตามข้อบัญญัติที่ผ่านมา พบว่าทุกแห่ง ประสบปัญหาในการบังคับใช้ ไม่สามารถจะจัดเก็บให้เป็นไปตามข้อบัญญัติได้ ทั้งนี้ มีสาเหตุหลายประการที่เป็นปัญหาอุปสรรค สาเหตุที่สำ�คัญคือตัวข้อบัญญัติ การบริหาร จัดการในการจัดเก็บภาษีน้ำ�มัน และตัวผู้บริหารท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งแนวทางใน การเพิ่มความพยายามและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีน้ำ�มันขององค์ การบริหารส่วนจังหวัด สามารถดำ�เนินการโดยควรดำ�เนินนโยบายควบคู่กันไปทั้ง นโยบายทางกฎหมายและนโยบายทางการบริหาร กล่าวคือ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3