วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ในบทความนี้ผู้เขียนมุ่งที่จะพิจารณาถึงสถานะของปัจเจกชนภายใต้ระบบ กฎหมายระหว่างประเทศ โดยจะได้ศึกษาถึงพัฒนาการทางความคิด ตลอดจนสถานะ ของปัจเจกชนในบริบทกฎหมายระหว่างประเทศสมัยใหม่ ซึ่งสรุปได้ว่า สถานะของ ปัจเจกชนยังมีความไม่ชัดเจนในทัศนะของกฎหมายระหว่างประเทศ หากแต่กฎหมาย ระหว่างประเทศก็ได้ให้สิทธิ กำ�หนดหน้าที่ รวมทั้งความรับผิดให้แก่ปัจเจกชน ถึงแม้จะ ไม่เท่ากับรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศซึ่งเป็นบุคคลในทางกฎหมายระหว่างประเทศก็ตาม Abstract At present, although individuals have not been recognised a legal personality in international law. It cannot be denied that the roles of individuals are increasing because of the development of international society and the expansion of sphere of international law. These factors make the position of individuals in the sense of international law are difficult and complex. This article aims to analyse the status of individuals under international law system through the development of concept and status of individuals in the context of modern international law. Finally, it can be concluded that status of individual in international law is not explicit. Although international law gives rights, obligations and responsibilities to individuals, it is not equal to State and International organisations. บทนำ� เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า รัฐ (state) มีสถานะเป็นผู้ทรงสิทธิดั้งเดิม “มีสภาพบุคคล” ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ (subject of international law) ตามนัยนี้รัฐจึงมีสิทธิ หน้าที่ตลอดจนความรับผิดอันเกิดจากการกระทำ�ที่มีลักษณะ เป็นการฝ่าฝืนต่อพันธกรณีของตน (state responsibility) จนกระทั่งในปี 1949 การยอมรับ สถานะขององค์การระหว่างประเทศ (international organization) ในฐานะที่เป็นผู้ทรง สิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศก็ได้รับการยอมรับโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ) ในความเห็นแนะนำ� (advisory opinion) วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3