วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ในกรณีการเรียกร้องค่าเสียหายในการปฏิบัติหน้าที่อันเกิดกับเจ้าหน้าที่ขององค์การ สหประชาชาติ (Reparation Case) 2 โดยในคดีนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ ให้ความเห็นว่า “องค์การสหประชาชาติเป็นบุคคลในทางระหว่างประเทศ (international persons) ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในทางระหว่างประเทศ” 3 ส่งผลให้ องค์การสหประชาชาติ มีความสามารถที่จะเรียกร้องต่อรัฐซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย แก่องค์การสหประชาชาติได้ จากคำ�วินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีนี้เอง ส่งผลให้องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ได้รับการยอมรับว่ามีสภาพบุคคลตามไปด้วย ในส่วนของปัจเจกชน “Individuals” (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) นั้น แม้จะได้รับการยอมรับโดยทั่วไปถึงสถานะของปัจเจกชนว่ามีสภาพบุคคลภายใต้ระบบ กฎหมายภายในของรัฐก็ตาม แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ สถานะของปัจเจกชน ยังคงมีความไม่ชัดเจนเมื่อเทียบระบบกฎหมายภายใน และเมื่อคำ�นึงว่าในปัจจุบัน ปัจเจกชนได้เข้ามามีบทบาทในทางกฎหมายระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น 4 ประกอบ กับการขยายขอบเขตในทางเนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศ 5 จึงทำ�ให้ปัญหา ในเรื่องการพิจารณาสถานะของปัจเจกชนในทางกฎหมายระหว่างประเทศมีความ ซับซ้อนและยากมากยิ่งขึ้น โดยในบทความนี้ ผู้เขียนมุ่งที่จะพิจารณาถึงสถานะทางกฎหมายของปัจเจกชน ภายใต้บริบทของกฎหมายระหว่างประเทศสมัยใหม่ แต่ก่อนที่จะได้ก้าวไปสู่ประเด็น ดังกล่าว ผู้เขียนจะได้ศึกษาถึงพัฒนาการทางความคิดในเรื่องปัจเจกชนภายใต้ กฎหมายระหว่างประเทศเสียก่อนเพื่อเป็นการทำ�ความเข้าใจในเบื้องต้นถึงแนวคิดใน เรื่องปัจเจกชนภายใต้บริบทของกฎหมายระหว่างประเทศ แล้วจึงจะได้พิจารณา ถึงสถานะของปัจเจกชนภายใต้ระบบกฎหมายระหว่างประเทศสมัยปัจจุบัน ก่อนที่ จะนำ�ไปสู่บทสรุปต่อไป 2 Reparation for Injuries Suffered in the Service of the United Nations, I.C.J. Advisory Opinion of April 11th, 1949. Retrieved August 13, 2012, from http://www.icj-cij.org/docket/file/4/1835.pdf 3 Ibid. 4 Malcolm N. Shaw. (2008). International Law. p. 258. 5 Ibid. pp.43-49. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3