วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

พัฒนาการทางความคิดในเรื่องปัจเจกชนภายใต้กฎหมาย ระหว่างประเทศ สำ�หรับพัฒนาการทางความคิดในเรื่องปัจเจกชนภายใต้กฎหมายระหว่าง ประเทศนั้นเดิมทีตามทัศนะของกฎหมายระหว่างประเทศไม่ยอมรับว่าปัจเจกชนเป็น บุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศถือว่าสิทธิ หน้าที่ ตลอดจนความรับผิดของปัจเจกชนในทางระหว่างประเทศจะต้องแสดงออก โดยผ่านรัฐเจ้าของสัญชาติของปัจเจกชนนั้นๆ 6 ตามนัยนี้ปัจเจกชนที่ได้รับความเสียหาย อันเกิดจากการกระทำ�ของรัฐอื่นจึงไม่อาจเรียกร้องในทางระหว่างประเทศให้รัฐที่ก่อให้ เกิดความเสียหายรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำ�ของรัฐได้โดยตรง แต่จะ ต้องกระทำ�โดยผ่านรัฐเจ้าของสัญชาติ ด้วยการขอความคุ้มครองทางทูต (diplomatic protection) จากรัฐเจ้าของสัญชาติของปัจเจกชนที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้รับการยอมรับจากทั้งนักกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Oppenheim, Waldock, Brownlie 7 และศาลระหว่างประเทศ โดยใน คดี Mavrommatis Palestine Concessions ค.ศ.1942 ศาลสถิตยุติธรรมระหว่าง ประเทศ (Permanent Court of lnternationd Justice : PCIJ) ได้วินิจฉัยว่า “เฉพาะ เมื่อรัฐได้ให้ความคุ้มครองทางทูตและเรียกร้องในนามของคนชาติของตนเท่านั้น จึงจะถือว่ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นในทางกฎหมายระหว่างประเทศ” 8 ตามนัยนี้จะเห็น ได้ว่าแม้ศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศจะได้ให้ การยอมรับถึงสิทธิของปัจเจกชนใน อันที่จะเรียกร้องให้รัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ แก่ปัจเจกชน ได้ก็ตาม หากแต่การที่จะบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิดังกล่าวก็จำ�เป็น ที่จะต้องทำ�โดยผ่านรัฐเจ้าของสัญชาติ ซึ่งทำ�ในนามของปัจเจกชนผู้ได้รับความเสียหาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศไม่ยอมรับสถานะของปัจเจกชน ว่าเป็นผู้ทรงสิทธิในทางกฎหมายระหว่างประเทศ 6 จุมพต สายสุนทร. (2549). กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1. หน้า 210. 7 Alexander Orakhelashvili. (2001). “The Position of the Individual In International Law,” California Western International Law Journal. pp.245-246. 8 อ้างใน, จุมพต สายสุนทร . เล่มเดิม. หน้า 210, และโปรดดู Malcolm N. Shaw. Supra note. P. 810. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3