วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

นอกจากนี้ใน Draft Article on the Responsibility of States for Internationally Wrongful Acts คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission: ILC) เองก็ได้ให้การยอมรับถึงสิทธิของปัจเจกชน ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ในอันที่จะเรียกร้องให้รัฐที่กระทำ�ความผิดให้ชดใช้ ค่าเสียหายในผลที่อาจเกิดขึ้นโดยตรงต่อปัจเจกชน หรือองค์ภาวะอื่น ๆ (entity) นอกจากรัฐได้ 14 กล่าวโดยสรุป แม้ว่าในอดีตการยอมรับสถานะ, สภาพบุคคล, ตลอดจน สิทธิของปัจเจกชนในทางกฎหมายระหว่างประเทศจะมีอยู่อย่างจำ�กัด โดยเฉพาะ การบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิของปัจเจกชนในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ที่แม้ โดยสารัตถะแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศจะได้ให้การรับรองสิทธิของปัจเจกชนใน อันที่จะเรียกร้องให้รัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ปัจเจก ชนได้ก็ตาม แต่การที่จะบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิดังกล่าวได้จำ�เป็นที่จะต้องกระทำ� โดยผ่านรัฐเจ้าของสัญชาติ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทรงสิทธิ (อย่างบริบูรณ์) ในทางกฎหมาย ระหว่างประเทศ ต่อมาเมื่อพัฒนาการของสังคมระหว่างประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลง ไปในแนวทางที่ปัจเจกชนได้เข้ามามีบทบาทในทางระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิมนุษยชนและการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ จึงทำ�ให้ปัจเจกชนมิ อาจถูกจำ�กัดสถานะอยู่แต่เฉพาะการเป็นวัตถุแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ (object of internationallaw) ได้อีกต่อไป สถานะของปัจเจกชนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน หลังจากที่ได้ทำ�ความเข้าใจถึงพัฒนาการทางความคิดของเรื่องปัจเจกชนใน ทางกฎหมายระหว่างประเทศมาแล้ว ในส่วนนี้จะได้พิจารณาถึงสถานะของปัจเจกชน ที่มีอยู่ภายใต้บริบทของกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน ซึ่งอาจพอที่จะแบ่งการ พิจารณาได้ดังนี้ 14 Giorgio Gaja. (2010). “The Position of Individuals in International Law : An ILC Perspective,” European Journal of International Law. P.11. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3