วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
1. ปัจเจกชนในฐานะผู้ทรงสิทธิในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในปัจจุบันการยอมรับสถานะของปัจเจกชนในฐานะที่ เป็น “ผู้ทรงสิทธิ” ในทางกฎหมายระหว่างประเทศได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย จากทั้งนักนิติศาสตร์, ศาลระหว่างประเทศ หรือแม้แต่หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ในการ ประมวลหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างคณะกรรมาธิการกฎหมาย ระหว่างประเทศ (International Law Commission : ILC) ดังนี้จึงส่งผลให้ปัจเจกชน สามารถเข้ามามีสิทธิและบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิของตนในขอบเขตของกฎหมาย ระหว่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในทางระหว่าง ประเทศ ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีอนุสัญญาหลายฉบับให้การรับรองไว้ เช่น อนุสัญญาจัดตั้ง ศาลยุติธรรมแห่งอเมริกากลาง “Convention for Establishment of Central American Court of Justice” ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ.1907 โดยใน Article 2 แห่ง อนุสัญญาฉบับดังกล่าว ได้กำ�หนดให้ปัจเจกชนมีสิทธินำ�คดีขึ้นสู่ศาลเพื่อฟ้องรัฐภาคี แห่งอนุสัญญาที่ไม่ใช่รัฐเจ้าของสัญชาติของผู้ฟ้องได้ แต่ทั้งนี้ปัจเจกชนที่ได้รับความ เสียหายจะต้องใช้วิธีการเยียวยาภายใน (exhaustive local remeidies) จนถึงที่สุดแล้ว และปรากฏว่าได้รับการปฏิเสธความยุติธรรม (denial of justice) โดยไม่คำ�นึงว่ารัฐ เจ้าของสัญชาติของปัจเจกชนจะยินดีเรียกร้องรัฐภาคีอื่นแห่งอนุสัญญาในนามของ ปัจเจกชนนั้นหรือไม่ 15 แต่อย่างไรก็ดี มีข้อที่น่าสังเกตว่าตลอดระยะเวลา 10 ปีของการจัดตั้งศาล ดังกล่าวปรากฏว่ามีกรณีซึ่งปัจเจกชนนำ�คดีขึ้นสู่ศาลเพื่อฟ้องรัฐภาคีแห่งอนุสัญญา จำ�นวน 5 คดี แต่ไม่มีคดีใดเลยที่ปัจเจกชนเป็นฝ่ายชนะคดี 16 15 Convention for Establishment of Central American Court of Justice 1907, stated that : This Court shall also take cognizance of the questions which individuals of one Central American country may raise against any of the other contracting Governments, because of the violation of treaties or conventions, and other cases of an international character; no matter whether their own Government supports said claim or not, and provided that the remedies which the laws of the respectivecountry provide against such violation shall have been exhausted or that denial of justice shall have been shown. 16 Dr. P.K. Menon. (1992). “The International Personality of Individuals in International Laws : A วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3